เรซูเม่ครู | ไกด์ไลน์ในการเขียนพร้อมตัวอย่าง

คะแนนเฉลี่ยสำหรับเทมเพลตนี้

5.0
Rated 5.0 out of 5
จาก 1 ความคิดเห็นของลูกค้า

ครูคือแม่พิมพ์ของชาติ ผู้คอยสนับสนุนการเติบโตของเด็กตั้งแต่เล็กจนโต หลายคนที่ชื่นชอบการศึกษาด้านใดด้านหนึ่งอย่างจริงจัง และต้องการแบ่งปันความรูัและเทคนิคต่าง ๆ ให้กับผู้อื่น อาชีพครูหรืออาจารย์จึงเป็นอาชีพที่พวกเขาเลือก เพื่อสร้างคุณประโยชน์ให้กับผู้อื่นได้ตลอดการทำงาน อาชีพครูแบ่งออกได้เป็นหลายรูปแบบ ทั้งครูในโรงเรียนรัฐ โรงเรียนเอกชน โรงเรียนนานาชาติ หรือสถาบันกวดวิชาต่าง ๆ และในมหาวิทยาลัย เป็นต้น การเขียนเรซูเม่ครูเพื่อสมัครเข้าทำงานในแต่ละที่จึงต้องแตกต่างกันไปตามความเหมาะสม รวมทั้งเนื้อหาเกี่ยวกับคณะที่เรียน และประสบการณ์ในการทำงานด้วย

นักศึกษาที่ต้องการจบมาเป็นครู ไม่จะเป็นต้องจบคณะครุศาสตร์เสมอไป แต่ยังหมายรวมถึง คณะศึกษาศาสตร์ คณะด้านภาษาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และรวมถึงคณะอื่น ๆ ที่จบมาแล้วก็สามารถเป็นครูที่สอนในสาขานั้น ๆ โดยเฉพาะในระดับมหาวิทยาลัยได้ เช่น คณะบัญชี คณะนิติศาสตร์ เป็นต้น โดยข้อมูลจากสถาบันสถิติแห่งชาติพบว่าในปีพ.ศ. 2563 มีจำนวนสถานศึกษาในประเทศไทย 37,806 แห่ง มีจำนวนครูและอาจารย์กว่า 665,420 ราย และจำนวนนักศึกษากว่า 12,589,424 ราย

ในบทความนี้เราจะมาดูไปพร้อม ๆ กันว่า การเขียนเรซูเม่ครูต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง พร้อมตัวอย่างประกอบ เพื่อให้คุณสามารถนำไปปรับใช้สำหรับเรซูเม่ครูของคุณเองได้ง่ายขึ้น

ตัวอย่างเรซูเม่ครู

พลอยไพลิน นรินทร
ครูสอนชีววิทยา

921 ซอยแจ้งวัฒนะ 5
เขตหลักสี่ แขวงทุ่งสองห้อง
กรุงเทพมหานคร 10210
065-214-9807
Nploypailin@gmail.com
Linkedin.com/in/nploypailin

สรุปทักษะและผลงานจากการทำงาน

เรียนจบคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาชีววิทยา ที่มหาวิทยาลัยมศว. ได้รับเกียรตินิยมอันดับสอง มีประสบการณ์ฝึกงานเป็นครูสอนวิชาชีววิทยาสำหรับนักเรียนชั้นม.5 ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา เป็นเวลา 2 ภาคการศึกษา ทำหน้าที่ในการออกแบบแผนการสอน การเก็บคะแนน และออกข้อสอบกลางภาคและปลายภาค พร้อมทั้งเทรนเพิ่มเติมเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย ได้คะแนนประเมินการฝึกงานในระดับดีมาก และได้รับรางวัลครูดีเด่นจากผลโหวตของนักเรียนอีกด้วย

ประสบการณ์การทำงาน

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา
ครูฝึกสอนวิชาชีววิทยา
พฤษภาคม 2563 – กันยายน 2563 และ
พฤศจิกายน 2563 – มีนาคม 2564

  • วางแผนการสอนวิชาชีววิทยาให้กับนักเรียนสายวิทย์ – คณิตในระดับชั้นม. 5
  • ออกข้อสอบสำหรับเก็บคะแนนและสอบปลายภาค
  • ติวสอบเข้ามหาวิทยาลัยเพิ่มเติมสำหรับนักเรียน

การศึกษา
ปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาชีววิทยา
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
เมษายน 2564

กิจกรรมอื่น ๆ เพิ่มเติม
สมาชิกชมรมสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัย
เป็นพี่กิจกรรมในงาน open house คณะศึกษาศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
เข้าร่วมโครงการ Work and Travel ในประเทศสหรัฐอเมริกา

ใบประกาศนียบัตร
TOEIC 620 คะแนน

วิธีการเขียนเรซูเม่ครู

การเขียนเรซูเม่ควรประกอบไปด้วยเนื้อหาที่ตอบโจทย์สำหรับวิชาชีพนั้น ๆ ได้อย่างครอบคลุม โดยไม่ควรเขียนจนเยิ่นเย้อ แต่ให้เขียนแค่ข้อมูลที่จำเป็นและมีความสำคัญจริง ๆ เท่านั้น นอกจากนี้ การเขียนเรซูเม่ที่ดีก็ควรคำนึงถึงรูปแบบของเรซูเม่ด้วย เพื่อให้เรซูเม่ครูของคุณมีระเบียบ อ่านได้ง่าย และสร้างความประทับใจให้กับผู้อ่าน

โครงสร้างเรซูเม่ครูในเบื้องต้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้:

  • ชื่อและนามสกุล
  • ตำแหน่งที่ต้องการสมัครงาน
  • ข้อมูลสำหรับติดต่อ
  • สรุปทักษะและผลงานจากการทำงาน (Professional Summary)
  • ประสบการณ์การทำงาน พร้อมทั้งประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
  • การศึกษา
  • ทักษะ
  • ส่วนเพิ่มเติมอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาษา, ใบประกาศนียบัตร, รางวัลที่ได้รับ และความสนใจด้านอื่น ๆ

เคล็ดลับในการจัดวางเรซูเม่ครูของคุณให้ออกมาน่าสนใจ

  • จัดวางโครงสร้างตามตัวอย่างในข้างต้น โดยเฉพาะตำแหน่งงานที่คุณควรสมัครควรเป็นสิ่งแรก ๆ ที่ HR ได้เห็น เพราะอาจมีการรับสมัครตำแหน่งงานหลายตำแหน่ง การทำเช่นนี้จะช่วยให้พวกเขาสามารถคัดแยกเรซูเม่ เพื่อนำมาพิจารณาได้ง่ายขึ้น โดยใส่หัวข้อหลักที่ควรตามลำดับ ก่อนที่จะเพิ่มส่วนเพิ่มเติมอื่น ๆ ที่ต้องการไว้ในส่วนท้าย
  • อ่านประกาศสมัครงานของโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยอย่างละเอียด โดยเฉพาะในส่วนของคุณสมบัติของอาจารยที่พวกเขาตามหา แล้วดูว่ามีข้อไหนที่ตรงกับคุณบ้าง แล้วเขียนเรซูเม่ครูของคุณให้ล้อไปตามนั้น
  • เขียนเรซูเม่ให้เหมาะสมสำหรับแต่ละตำแหน่งงานและสถานที่ที่คุณต้องการเข้าทำงานโดยเฉพาะ ไม่คัดลอกแล้ววางเด็ดขาด เพราะเรซูเม่ของคุณอาจไม่ตอบโจทย์ตำแหน่งงานและสถานที่นั้น ๆ ได้อย่างแท้จริง เพราะไม่มีความเฉพาะเจาะจงมากพอ

โครงสร้างของเรซูเม่ครู

จากข้อมูลของ Time ได้พูดถึงเรซูเม่ที่ดีไว้ว่าควรเขียนให้เหมาะกับแต่ละอุตสาหกรรม ควรประกอบไปด้วยคีย์เวิร์ดที่พบในโพสต์สมัครงาน เรซูเม่สะอาด ข้อมูลถูกต้อง และควรมีการค้นคว้าเกี่ยวกับวัฒนธรรมขององค์กรที่คุณต้องการสมัครงานเพื่อนำมาปรับใช้ในเรซูเม่ของคุณด้วย เช่น แนวการใช้ภาษาและสีประจำองค์กรเป็นต้น ขนาดฟอนต์ควรเป็นประมาณ 10-12 ซึ่งฟอนต์ที่แนะนำสำหรับ CV ภาษาอังกฤษ ประกอบไปด้วย Calibri, Times New Roman, Cambria และ Arial และฟอนต์แนะนำสำหรับ CV ภาษาไทยจะเป็น TH Sarabun New

รูปแบบของเรซูเม่ครู

รูปแบบของ CV ที่ดีสามารถแบ่งออกได้เป็นทั้งหมด 3 แบบ ดังนี้

  • รูปแบบที่เน้นประสบการณ์การทำงาน เป็นรูปแบบที่พูดถึงประสบการณ์การทำงานและความเชี่ยวชาญของผู้สมัครเป็นส่วนใหญ่
  • รูปแบบที่เน้นทักษะและการศึกษา เป็นรูปแบบที่เน้นเล่าถึงการศึกษาและทักษะส่วนตัว เหมาะสำหรับผู้สมัครที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำงาน หรือมีประสบการณ์ที่ยังไม่มากนัก
  • รูปแบบผสม เป็นรูปแบบที่มีทั้งการพูดถึงการศึกษา ทักษะส่วนตัว และประสบการณ์ในการทำงานด้วย

หัวเรื่องของเรซูเม่

หัวเรื่องส่วนใหญ่มักเริ่มจากการเขียนชื่อนามสกุล ตำแหน่งงานที่ต้องการสมัคร และข้อมูลสำหรับการติดต่อ ตามตัวอย่างด้านล่างนี้

หัวเรื่องที่ดี
พลอยไพลิน นรินทร
ครูสอนชีววิทยา

921 ซอยแจ้งวัฒนะ 5
เขตหลักสี่ แขวงทุ่งสองห้อง
กรุงเทพมหานคร 10210

065-214-9807
Nploypailin@gmail.com
Linkedin.com/in/nploypailin

หัวเรื่องที่ไม่ดี
พลอยไพลิน นรินทร
ครูชีวะ
921 ซอยแจ้งวัฒนะ 5
ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ แขวงทุ่งสองห้อง
กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10210
065-214-9807
ploycute_34@gmail.com
Facebook.com/ploycute
Line ID: ploycute12
📌 คำแนะนำ: หัวเรื่องที่ดีควรเขียนอย่างกระชับ และประกอบไปด้วยข้อมูลที่จำเป็นเท่านั้น ไม่ควรเขียนติดกันทั้งหมด ใช้ถ้อยคำที่เป็นทางการ เช่น ชื่ออีเมลสำหรับใช้ในการทำงานได้จริง และไม่ควรใส่ช่องทางโซเชียลมีเดียส่วนตัวโดยไม่จำเป็น

ส่วนรูปภาพที่ใช้ในเรซูเม่ ก็ควรเป็นรูปที่แต่งกายเรียบร้อยและเป็นทางการ ไม่ใช่รูปนักศึกษา เพื่อให้เหมาะสำหรับการสมัครเข้าทำงานวิชาชีพมากที่สุด

ประสบการณ์การทำงานที่ผ่่านมา

ประสบการณ์ในการทำงาน มักเริ่มเขียนจาก ชื่อองค์กร ตำแหน่งงาน และระยะเวลาทำงาน จากนั้นก็เขียนถึงหน้าที่และความรับผิดชอบในตำแหน่งงานนั้น ๆ ที่เคยทำอย่างน้อยประมาณ 3 ข้อ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่างประสบการณ์ทำงานของครู

ประสบการณ์การทำงาน

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา
ครูฝึกสอนวิชาชีววิทยา
พฤษภาคม 2563 – กันยายน 2563 และ
พฤศจิกายน 2563 – มีนาคม 2564

  • วางแผนการสอนวิชาชีววิทยาให้กับนักเรียนสายวิทย์ – คณิตในระดับชั้นม. 5
  • ออกข้อสอบสำหรับเก็บคะแนนและสอบปลายภาค
  • ติวสอบเข้ามหาวิทยาลัยเพิ่มเติมสำหรับนักเรียน

การศึกษา

ภายใต้หัวข้อการศึกษาจะเป็นข้อมูลชื่อมหาวิทยาลัยอย่าง ระดับการศึกษา และวันเวลาที่สำเร็จการศึกษา โดยเรียงจากการศึกษาล่าสุดก่อน

ตัวอย่างการเขียนหัวข้อการศึกษาใน CV ครู

การศึกษา
ปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาชีววิทยา
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
เมษายน 2564

ทักษะสำหรับเรซูเม่ครู

ทักษะในที่นี้หมายถึงทั้งทักษะสำหรับวิชาชีพ (hard skills) และทักษะการเข้าสังคม (soft skills) ของผู้สมัคร ซึ่งในส่วนนี้สามารถสังเกตได้จากโพสต์รับสมัครงานขององค์กรด้วยว่า พวกเขาต้องการคนทำงานที่มีลักษณะแบบไหน และมีคุณลักษณะใดที่ตรงกับตัวคุณบ้าง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถรู้จักตัวตนและทักษะผ่านเรซูเม่ครูของคุณ

ทักษะเฉพาะทาง

  • บริหารจัดการชั้นเรียนได้ดี
  • บริหารจัดการด้านเรียนรู้ตามหลักสูตร
  • พัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา
  • มีใจรักในงานบริการ
  • ยึดถือจรรยาบรรณวิชาชีพครูเป็นสำคัญ
  • ทำงานเป็นทีมได้ดี
  • วิเคราะห์และวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน
  • มีภาวะของการเป็นผู้นำ

ทักษะการเข้าสังคม

  • บริหารเวลาได้ดี
  • มีความฉลาดทางอารมณ์
  • มีความสามารถในการปรับตัว
  • มีการสื่อสารที่ดี
  • แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
  • มีความคิดสร้างสรรค์
  • ตั้งมั่นที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต
  • ตรงต่อเวลา

สรุปเกี่ยวกับทักษะและผลงานของการเป็นครู

ในส่วนของสรุปทักษะและผลงานจะเป็นการกล่าวถึงทักษะในวิชาชีพครู และผลงานที่เคยได้ทำไว้ในระหว่างการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการฝึกงาน หรือการทำงานจริง เพื่อแสดงให้องค์กรเห็นถึงข้อดีของคุณ และทำให้เขาอยากเลือกคุณเข้าไปร่วมงานด้วย

ตัวอย่างที่ถูกต้อง
เรียนจบคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาชีววิทยา ที่มหาวิทยาลัยมศว. ได้รับเกียรตินิยมอันดับสอง มีประสบการณ์ฝึกงานเป็นครูสอนวิชาชีววิทยาสำหรับนักเรียนชั้นม.5 ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา เป็นเวลา 2 ภาคการศึกษา ทำหน้าที่ในการออกแบบแผนการสอน การเก็บคะแนน และออกข้อสอบกลางภาคและปลายภาค พร้อมทั้งเทรนเพิ่มเติมเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย ได้คะแนนประเมินการฝึกงานในระดับดีมาก และได้รับรางวัลครูดีเด่นจากผลโหวตของนักเรียนอีกด้วย
💡ตัวอย่างในข้างต้น ได้พูดถึงผลงานด้านการศึกษา และประสบการณ์ฝึกงานของผู้สมัคร หน้าที่ที่รับผิดชอบโดยสังเขป รวมทั้งกล่าวถึงผลงานที่น่าสนใจในระหว่างการเก็บประสบการณ์ด้านการฝึกสอนด้วย
ตัวอย่างที่ไม่ถูกต้อง
เรียนด้านชีววิทยามาโดยตรง และได้ฝึกงานเป็นครูชีวะเป็นเวลา 1 ปี โดยประมาณ สอนหนังสือนักเรียนชั้นม. 5 เกี่ยวกับโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก การสังเคราะห์ด้วยแสง การสืบพันธุ์ของพืชดอก  การตอบสนองของพืช การค้นพบกฎการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ยีนและโครโมโซม พันธุศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ และ วิวัฒนาการ
💡 ตัวอย่างต่อมา ใช้ภาษาอย่างไม่เป็นทางการ และยังไม่ได้พูดถึงหน้าที่ความรับผิดชอบและผลงานจากการทำงานอย่างชัดเจนนัก

ส่วนเพิ่มเติม

เพื่อให้ผู้อ่านได้ทำความรู้จักกับผู้สมัครได้มากขึ้น ให้ใส่ส่วนเพิ่มเติม เช่น ทักษะด้านภาษา และสิ่งที่สนใจอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วย เช่น ประกาศนียบัตรที่เคยได้รับ ผลงานทางวิชาการที่เคยได้รับการตีพิมพ์ พร้อมแนบ Reference ไปกับ CV ครูของคุณด้วยก็ได้

ภาษา

ทักษะภาษาเป็นทักษะที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับทุกวิชาชีพ รวมทั้งวิชาชีพครูด้วย หากคูณมีคะแนนสอบวัดผลทางภาษา เช่น TOEFL หรือ IELTS ที่น่าพึงพอใจ ก็สามารถแนบไว้เพื่อทำให้คุณโดดเด่นจากผู้สมัครรายอื่น ๆ ได้ด้วย โดยเฉพาะถ้าองค์กรที่คุณสมัครเป็นโรงเรียนนานาชาติหรือสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ที่มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ

เคล็ดลับในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ CV ครู

เมื่อจัดเตรียมเนื้อหาและรูปแบบโครงสร้างสำหรับ CV ครูของคุณเรียบร้อยแล้ว ก็ลองเช็คดูตามรายการด้านล่างนี้อีกครั้งก่อนส่ง เพื่อให้แน่ใจได้ว่า CV ครูของคุณมีประสิทธิภาพและพร้อมที่จะส่งไปยัง HR แล้ว

  • เลือกใช้ตัวอย่างรูปแบบเรซูเม่ที่ตรงกับตำแหน่งงานที่คุณสมัคร เช่น ครูเป็นวิชาชีพที่เรซูเม่ควรมีความเป็นทางการและเรียบร้อย เป็นต้น
  • หากคุณเป็นนักศึกษาจบใหม่ ให้พูดถึงการศึกษา และประสบการณ์ในรั้วมหาวิทยาลัย เช่น การเข้าค่าย หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะกิจกรรมที่สามารถเชื่อมโยงกับการทำงานในตำแหน่งงานที่คุณต้องการได้
  • หากคุณเป็นครูอาชีพที่ต้องการเปลี่ยนที่ทำงาน ได้รับตำแหน่งงานอื่น ๆ หรือเพื่อโอกาสตำแหน่งงานที่สูงขึ้น ให้เขียนเน้นไปที่ประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา โดยเรียงลำดับเวลาจากล่าสุดก่อน
  • ก่อนที่จะส่ง CV ให้อ่านซ้ำอีกหลาย ๆ ครั้ง เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจได้ว่า ข้อมูลทุกอย่างนั้นถูกต้อง และไม่มีคำสะกดผิด

สรุปประเด็นสำคัญในการเขียนเรซูเม่ครู

  • เรซูเม่ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยชื่อนามสกุล, ตำแหน่งงานที่สมัคร, ข้อมูลสำหรับการติดต่อ, สรุปทักษะและผลงานในการทำงาน (professional summary), ประสบการณ์การทำงาน, การศึกษา, ทักษะ hard skill และ soft skill และส่วนเพิ่มเติม
  • หัวเรื่องให้เขียนให้กระชับ ไม่เยิ่นเย้อ และประกอบไปด้วยข้อมูลที่สำคัญเท่านั้น อีเมลที่ใช้สมัครงานควรเป็นแบบทางการ
  • ให้ใส่ตำแหน่งงานที่สมัครไว้ที่หัวเรื่อง เพื่อให้สังเกตได้ง่าย
  • สรุปทักษะและผลงานให้เขียนให้น่าสนใจ โฆษณาตัวเองให้ HR เห็นว่าทำไมเขาถึงควรเลือกคุณเข้าทำงานด้วย
  • เขียนประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานที่ต้องการสมัคร แต่ถ้ายังไม่มีประสบการณ์ ให้เขียนเน้นที่การศึกษา ผลการเรียน และกิจกรรมในมหาวิทยาลัย และทักษะสำหรับการทำงาน (hard skill) และทักษะการเข้าสังคม (soft skill) แทน

เขียน Cover letter ที่เหมาะกับเรซูเม่ของคุณ

เรซูเม่และ CV คือเอกสารที่ใช้สำหรับสมัครงานเหมือนกัน โดยเรซูเม่มักมีความยาวประมาณ 1-2 หน้า ส่วน CV มีความยาวมากกว่า 2-20 หน้า เนื่องจากมีข้อมูลเชิงลึกที่มากกว่า เช่น ผลงานทางวิชาการที่เคยตีพิมพ์ เป็นต้น โดยเรซูเม่มักเป็นเอกสารสำหรับสมัครงานในองค์กรทั่วไป ส่วน CV จะเน้นไปที่ตำแหน่งเชิงวิชาการและงานวิจัยมากกว่า คุณสามารถดูตัวอย่างเรซูเม่เพิ่มเติม เพื่อนำไปปรับใช้ในการสร้างเรซูเม่ของคุณได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

เขียนประวัติอาจารย์ CV

cv ที่มีประสบการณ์การเป็นวิทยากร เทมเพลต cv ของลำโพง
ดาวน์โหลด CV วิทยากร cv ไม่มีประสบการณ์เป็นวิทยากร

บทความที่คล้ายกัน