CV พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน | คู่มือการเขียน CV และตัวอย่าง

คะแนนเฉลี่ยสำหรับเทมเพลตนี้

5.0
Rated 5.0 out of 5
จาก 2 ความคิดเห็นของลูกค้า

อาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเรียกได้ว่าเป็นอาชีพในฝันของใครหลาย ๆ คน เพราะได้ใช้ทักษะทางภาษา ทักษะในการดูแลผู้โดยสารในเครื่องบินตลอดการเดินทาง และยังได้มีโอกาสเดินทางไปเที่ยวรอบโลกในระหว่างการทำงานอีกด้วย ทำให้เป็นสายงานที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูง และการรู้ภาษาที่สามก็ยิ่งได้เปรียบมากขึ้นไปอีก และเนื่องจากเป็นอาชีพที่มีการแข่งขันสูงนี่เอง นอกจากจะต้องเตรียมทั้งกายและใจให้พร้อมแล้ว CV พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของผู้สมัครเองก็ต้องมีความพร้อมและโดดเด่นเช่นกัน เพื่อให้ได้มีโอกาสถูกเรียกเข้าสัมภาษณ์ในครั้งต่อไป

นอกจากนั้นแล้วจะยังได้รับสวัสดิการอื่น ๆ อีกมากมายทั้งที่พักฟรีเวลาบิน วันลาหยุดที่มากกว่า 20 วันต่อปีโดยเฉลี่ยเป็นส่วนใหญ่ สามารถซื้อตั๋วเครื่องบินในราคาที่ถูกมากหากได้เป็นพนักงาน ซึ่งอาจอยู่ที่ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของราคาจริงเท่านั้นเอง ทั้งสำหรับสายการบินที่ทำงานให้หรือสายการบินที่เป็นพันธมิตรกันอีกที จะเห็นได้ว่ามีแต่ข้อดีทั้งนั้นเลย ทว่าข้อเสียก็มีเช่นกัน อย่างเช่น ต้องเดินทางบ่อย ๆ ท่ามกลางสภาพอากาศที่ย่ำแย่บ้าง รวมถึงตารางงานที่ไม่แน่ไม่นอน ทำให้อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ต้องอยู่ไกลจากครอบครัว แต่นั่นก็ส่งผลให้เป็นอาชีพที่มีรายได้ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว และในบทความนี้เราจะมาเจาะลึกกันว่า CV พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่ดี ควรประกอบไปด้วยข้อมูลอะไรบ้าง พร้อมตัวอย่าง CV พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินประกอบ

ตัวอย่าง CV พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน

สุชานันท์ จันทร์ทรา
พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน

1792 ซอยสุขุมวิท 56
แขวงพระโขนงใต้ เขตพระโขนง
กรุงเทพมหานคร 10260

084-064-5431
sjantra@gmail.com
Linkedin.com/in/sjantra

สรุปประสบการณ์การทำงานและผลงาน
มีประสบการณ์ในการทำงานด้าน PR และบริการดูแลลูกค้าให้กับเครือของห้างดังในประเทศไทย มีความรับผิดชอบในการทำงานและเป็นมิตรกับลูกค้า และได้รับคะแนนความพึงพอใจจากลูกค้าสูงถึง 97.12% ด้วยความรักในงานบริการ การใช้ภาษาอังกฤษ และความฝันที่อยากได้เดินทางท่องเที่ยวไปในหลาย ๆ ประเทศ ทำให้มาสมัครงานในตำแหน่งพรักงานต้อนรับบนเครื่องบินกับ Bangkok Airways

ประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)
City Mall Group Company Limited
เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานประชาสัมพันธ์
กุมภาพันธ์ 2563 – กุมภาพันธ์ 2565

  • ศึกษาเกี่ยวกับนโยบาย เป้าหมาย และพันธกิจขององค์กร เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนและดำเนินงาน
  • จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สำหรับทั้งภายนอกและภายในให้มีความเหมาะสม ข้อมูลถูกต้อง สร้างการประชาสัมพันธ์ให้มีความน่าสนใจ และถึงกลุ่มเป้าหมาย ทั้งในรูปแบบของการติดบอร์ดหรือผ่าน สื่อมวลชนต่าง ๆ
  • พิจารณาและประเมินผลการทำงาน รายงานผลและสรุปข้อมูล รวมทั้งเตรียมข้อมูลสำหรับการสอบถามจากลูกค้า

การศึกษา
ปริญญาตรี สาขาวารสารศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ตุลาคม 2562

กิจกรรมอื่น ๆ เพิ่มเติม
Work and Travel ในประเทศสหรัฐอเมริกา

ใบประกาศนียบัตร
TOEIC 850 คะแนน

อัตราและเงินเดือนของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน

จากข้อมูลของ Crewing Education ได้แบ่งรายได้ของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสำหรับสายการบินต่าง ๆ ทั้งในไทยและต่างประเทศไว้ดังนี้

1. ตัวอย่างรายได้ของสายการบินในประเทศไทย

  • Thai smile: 45,000-55,000 บาท
  • Thai Airways: 45,000-60,000 บาท
  • Nok air: 50,000 – 65,000 บาท
  • Thai Airasia: 65,000-90,000 บาท
  • Bangkok Airways: 70,000-100,000 บาท

2. ตัวอย่างรายได้ของสายการบินในเอเชีย

  • Japan Airlines: 50,000 – 65,000 บาท
  • Singapore Airlines: 70,000 – 100,000 บาท
  • Korean Air: 60,000 – 75,000 บาท
  • China Airlines: 50,000 – 60,000 บาท
  • Hong Kong Airlines: 50,000 – 75,000 บาท

3. รายได้หรือเงินเดือนสายการบินตะวันออกกลาง

  • Oman: 70,000 – 80,000 บาท
  • Qatar: 70,000 – 100,000 บาท
  • Emirates: 70,000 – 100,000 บาท

วิธีการเขียน CV พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน

CV ที่ดี นอกจากจะต้องประกอบไปด้วยข้อมูลที่สำคัญอย่างครอบคลุมแล้ว ก็ควรมีการจัดเรียงโครงสร้างที่เป็นระบบ เพื่อให้ผู้พิจารณา CV พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของคุณอ่านข้อมูลได้อย่างสะดวกมากที่สุด หลายคนมักจะใส่ข้อมูลเยอะ และไม่มีการจัดระเบียบข้อมูลที่ดี ทำให้ยากต่อการอ่าน หรือพลาดโอกาสถูกหยิบขึ้นมาอ่านไปอย่างน่าเสียดาย โดยโครงสร้างทั่วไปของ CV ควรประกอบไปด้วยข้อมูลต่อไปนี้:

  • ประวัติส่วนตัวและข้อมูลติดต่อ
  • ตำแหน่งงานที่ต้องการสมัคร
  • สรุปประสบการณ์การทำงานและผลงาน (Professional Summary)
  • ประสบการณ์ด้านการทำงาน หรือประสบการณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • การศึกษา
  • ทักษะ
  • ส่วนเพิ่มเติมอื่น ๆ (เช่น ภาษา, ใบประกาศนียบัตร, รางวัลที่ได้รับ และความสนใจส่วนตัวอื่น ๆ เป็นต้น)

เทคนิคการสร้าง CV ให้น่าสนใจและโดดเด่นจาก CV อื่น ๆ คือ:

  • ไม่ควรใส่ข้อมูลไว้ใน CV ยาวเกินไป เพราะทำให้หาสาระสำคัญได้ยาก และยังไม่น่าอ่านอีกด้วย
  • ห้ามจัดทำ CV แผ่นเดียว สำหรับสมัครงานหลายที่ เพราะไม่เจาะจงกับตำแหน่งงานหรือองค์กรที่ต้องสมัครงานด้วยมากพอ ควรปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสมของแต่ที่จะดีที่สุด และแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการสมัครงานกับสถานที่นั้นจริง ๆ ด้วย
  • ปรับเปลี่ยนการเขียนข้อเสียให้เป็นไปในเชิงบวกแทน เช่น หากคุณเป็นคนใจร้อน ต้องการให้งานเสร็จไว ๆ ก็อาจเขียนว่าเป็นคนที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำงานแทน เป็นต้น
  • จัดเทมเพลต CV ให้น่าอ่าน ใช้สีสันที่เข้ากับวัฒนธรรมขององค์กรที่คุณต้องการสมัครด้วยยิ่งดี
  • ก่อนส่งให้ตรวจทาน CV ซ้ำ ๆ ว่าข้อมูลนั้นถูกต้อง ครบถ้วน และไม่มีคำที่สะกดผิดให้รบกวนใจผู้อ่าน หรือแสดงให้เห็นว่าไม่ใส่ใจต่อการสมัครงานนั้นนัก

โครงสร้างและรูปแบบของ CV พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน

พยายามรวบรวมข้อมูลที่สำคัญทั้งหมดไว้ในหน้าเดียวกัน ใช้ฟอนต์ขนาด 10-12 โดยประมาณ โดยให้เลือกใช้ฟอนต์ที่อ่านง่าย สำหรับ CV ภาษาอังกฤษ แนะนำเป็น Calibri, Times New Roman, Cambria และ Arial และฟอนต์สำหรับ CV ภาษาไทยที่แนะนำได้แก่ TH Sarabun New

รูปแบบของ CV พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน

CV โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบหลัก อันได้แก่

  • รูปแบบตามลำดับเวลา เป็นการเล่าเกี่ยวกับประสบการณ์ในการทำงานและประสบการณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยไล่เรียงตามลำดับเวลา ว่าคุณเคยมีประสบการณ์การทำงานอะไรบ้างที่ผ่านมา ซึ่งมักเรียงจากล่าสุดก่อน
  • รูปแบบโชว์ทักษะส่วนตัว มักกล่าวถึงคุณสมบัติที่คุณมี เพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณมีความเหมาะสมสำหรับงานนั้น ๆ อย่างไรบ้าง
  • รูปแบบผสม คือ ส่วนผสมของทั้งรูปแบบตามลำดัลเวลาและโชว์ทักษะส่วนตัว

หัวเรื่องและข้อมูลการติดต่อ

หัวเรื่องของ CV มักจะประกอบด้วยชื่อและนามสกุลของคุณ ตำแหน่งงานที่ต้องการสมัคร และข้อมูลสำหรับติดต่อ ได้แก่ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล และเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

หัวเรื่องที่ดี
สุชานันท์ จันทร์ทรา
พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน

1792 ซอยสุขุมวิท 56
แขวงพระโขนงใต้ เขตพระโขนง
กรุงเทพมหานคร 10260

084-064-5431
sjantra@gmail.com
Linkedin.com/in/sjantra

หัวเรื่องที่ไม่ดี
สุชานันท์ จันทร์ทรา

1792
ซอยสุขุมวิท 56
แขวงพระโขนงใต้ เขตพระโขนง
กรุงเทพมหานคร 10260
084-064-5431
sj2345@gmail.com
Facebook.com/sjantra

📌 คำแนะนำ: หัวเรื่องใน CV ควรใส่แค่ข้อมูลที่สำคัญเท่านั้น เขียนให้กระชับ ไม่เยิ่นเย้อเกินจำเป็น และห้ามลืมใส่ตำแหน่งงานที่ต้องการสมัคร เพื่อให้คนอ่านเห็นเป็นอันดับแรกเลยว่าคุณต้องการสมัครเข้ามาในตำแหน่งใด เพราะองค์กรอาจมีการเปิดรับหลายตำแหน่ง อีเมลควรเป็นแบบทางการ ส่วนลิงก์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานไม่ควรนำมาใส่

รูปภาพใน CV ควรเป็นรูปภาพที่ถ่ายสำหรับใช้ยื่นสมัครงานโดยเฉพาะ แต่งกายสุภาพ ทำผมให้เรียบร้อย เพื่อให้เหมาะสำหรับตำแหน่งงานที่สมัคร

ประสบการณ์ในการเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน

ประสบการณ์ด้านการทำงานให้เริ่มจากเขียนชื่อของบริษัท ตำแหน่งงานที่เคยทำ รวมไปถึงระยะเวลาในการทำงาน รวมทั้งเขียนเกี่ยวกับหน้าที่รับผิดชอบอย่างน้อย 3 ข้อ และหากมีประสบการณ์การทำงานมากกว่าหนึ่งที่ ให้ใส่ไปด้วย ตามตัวอย่างด้านล่างนี้

City Mall Group Company Limited
เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานประชาสัมพันธ์
กุมภาพันธ์ 2563 – กุมภาพันธ์ 2565
  • ศึกษาเกี่ยวกับนโยบาย เป้าหมาย และพันธกิจขององค์กร เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนและดำเนินงาน
  • จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สำหรับทั้งภายนอกและภายในให้มีความเหมาะสม ข้อมูลถูกต้อง สร้างการประชาสัมพันธ์ให้มีความน่าสนใจ และถึงกลุ่มเป้าหมาย ทั้งในรูปแบบของการติดบอร์ดหรือผ่าน สื่อมวลชนต่าง ๆ
  • พิจารณาและประเมินผลการทำงาน รายงานผลและสรุปข้อมูล รวมทั้งเตรียมข้อมูลสำหรับการสอบถามจากลูกค้า

การศึกษา

ต่อมาจะเป็นหัวข้อด้านการศึกษาของผู้สมัคร ให้เขียนถึงชื่อมหาวิทยาลัย ระดับการศึกษา และวันเวลาที่สำเร็จการศึกษา ตามลำดับ ตามตัวอย่างนี้

การศึกษา
ปริญญาตรี สาขาวารสารศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ตุลาคม 2562

ทักษะสำหรับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน

ทักษะที่ควรใส่ไว้ใน CV โดยทั่วไปควรประกอบไปด้วยทักษะเฉพาะทางที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพ (hard skills) และทักษะในการเข้าสังคม (soft skills) ซึ่งทักษะที่สำคัญสำหรับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน มีดังต่อไปนี้

ทักษะเฉพาะทาง

  • ทักษะในการสื่อสาร ภาษาอังกฤษและภาษาที่สามต่าง ๆ
  • ทักษะด้านการบริการลูกค้า
  • ทักษะในการคำนวณทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน
  • ทักษะในการว่ายน้ำ
  • ทักษะในการช่วยเหลือผู้โดยสารให้ได้รับความปลอดภัย
  • มีความละเอียดรอบคอบ
  • ทักษะในการเป็นผู้นำ
  • ทักษะในการบริหารจัดการเวลาและการทำงาน

ทักษะการเข้าสังคม

  • ทักษะการทำงานร่วมกันเป็นทีม
  • เป็นมิตรกับผู้โดยสาร
  • ทักษะในการกล้าแสดงออก
  • ทักษะในการควบคุมตัวเอง
  • ทักษะในการปรับตัว
  • ทักษะในการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า
  • เป็นคนตรงต่อเวลา
  • ทักษะความรู้ด้านวัฒนธรรมที่แตกต่าง

สรุปเกี่ยวกับทักษะส่วนตัวและประสบการณ์ในการทำงาน

ต่อไปเป็นหัวข้อของการสรุปประสบการณ์ด้านการทำงาน รวมทั้งทักษะด้านประสบการณ์และผลงาน (Professional Summary) ของผู้สมัคร เพื่อให้บอกให้ทราบว่ามีประสบการณ์ในการทำงานมากี่ปี และมีทักษะอะไรที่ตัวผู้สมัครมีที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์บ้าง

ตัวอย่างที่ถูกต้อง
มีประสบการณ์ในการทำงานด้าน PR และบริการดูแลลูกค้าให้กับเครือของห้างดังในประเทศไทย มีความรับผิดชอบในการทำงานและเป็นมิตรกับลูกค้า และได้รับคะแนนความพึงพอใจจากลูกค้าสูงถึง 97.12% ด้วยความรักในงานบริการ การใช้ภาษาอังกฤษ และความฝันที่อยากได้เดินทางท่องเที่ยวไปในหลาย ๆ ประเทศ ทำให้มาสมัครงานในตำแหน่งพรักงานต้อนรับบนเครื่องบินกับ Bangkok Airways
💡ตัวอย่างข้างต้นได้อธิบายเกี่ยวกับประสบการณ์ในการทำงานและทักษะของการทำงานอย่างครอบคลุม นอกจากนั้นยังกล่าวถึงผลงานที่ได้ทำในระหว่างการทำงานด้วย
ตัวอย่างที่ไม่ถูกต้อง
ฉันเคยมีประสบการณ์ในการเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินมาก่อนในช่วง 2 ปีที่ผ่่านมา ได้ใช้ความรู้ความสามารถที่มีไปกับการทำหน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับการต้อนรับผู้โดยสารบนเครื่องบิน ไม่ว่าจะเป็น การตรวจตั๋วโดยสารและดูแลความปลอดภัยต่าง ๆ
💡 ตัวอย่างข้างต้นสั้นไป อธิบายได้ยังไม่ครอบคลุม โดยการอธิบายถึงประสบการณ์ ทักษะ และผลงานจากการทำงานควรมีความยาวประมาณ 4-5 บรรทัด เพื่ออธิบายถึงประสบการณ์ทำงานอย่างเพียงพอ ที่สำคัญที่สุดก็คือไม่ได้มีการอธิบายถึงผลงานและความสำเร็จที่เคยได้ทำ เพราะเป็นจุดที่จะทำให้ CV ของคุณน่าสนใจและแตกต่างจาก CV ของคนอื่น ๆ

ส่วนเพิ่มเติม

ส่วนเพิ่มเติมคือส่วนที่นอกเหนือไปจากข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน แต่เป็นส่วนสำคัญที่สามารถสร้างความแตกต่างระหว่างคุณจากผู้เข้าสมัครรายอื่น ๆ ได้ ได้แก่ ภาษา รวมทั้งใบประกาศนียบัตรอื่น ๆ ที่คุณเคยได้รับในระหว่างเรียนหรือทำงาน

ภาษา

ภาษาเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเป็นอย่างมาก เพราะลูกค้าเป็นได้ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ ถ้าคุณมีคะแนนทดสอบด้านภาษา เช่น TOEFL หรือ TOEIC สำหรับภาษาอังกฤษ ก็สามารถแนบเพิ่มเติมได้ หรือถ้ามีผลคะแนนภาษาที่สาม ก็ควรแนบไปด้วย จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับ CV ของคุณได้อีกเยอะมาก

เคล็ดลับในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ CV ของคุณ

ถ้าคุณมีข้อมูลทุกอย่างที่สำคัญครบแล้ว และมีการจัดวางโครงสร้างให้เป็นระบบในระดับหนึ่ง ก็ลองมาตรวจสอบตามเช็คลิสต์นี้ดูอีกทีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดให้กับ CV ของคุณกัน

  • เลือกใช้เทมเพลตสำหรับ CV ที่เหมาะสมสำหรับตำแหน่งงานพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินและองค์กรที่คุณต้องการสมัคร อาจลองเลือกใช้สีหรือฟอนต์ที่ตรงตามวัฒนธรรมองค์กรของบริษัท เพื่อเพิ่มความน่าสนใจและแสดงให้เห็นถึงความใส่ในของคุณด้วย
  • อย่าลืมใส่คีย์เวิร์ดเกี่ยวกับตำแหน่งงานที่คุณสมัคร เพื่อช่วยให้ผู้พิจารณามองหาสิ่งที่พวกเขาต้องการหาได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม คีย์เวิร์ดเหล่านี้ต้องตรงตามลักษณะจริง ไม่ว่าจะเป็น ความตรงต่อเวลา ใจที่รักงานบริการ และสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี เป็นต้น
  • ใส่อ้างอิง (reference) เพิ่มเติมให้กับ CV ของคุณ เช่น ใบประกาศนียบัตรเข้าคอร์สอบรมต่าง ๆ ที่เป็นการพัฒนาทักษะงานต้อนรับและโรงแรมของผู้สมัคร เป็นต้น

สรุปประเด็นสำคัญในการเขียน CV พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน

ในหัวข้อนี้ เราจะมาสรุปถึงข้อมูลสำคัญและโครงสร้างของ CV ว่าต้องประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

  • CV ควรประกอบไปด้วยประวัติส่วนตัว ข้อมูลสำหรับติดต่อ ตำแหน่งที่ต้องการสมัครงาน สรุปประสบการณ์การทำงานและทักษะส่วนตัว (Professional Summary) ประสบการณ์ในการทำงานหรือประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ การศึกษา ทักษะ รวมทั้งส่วนเพิ่มเติมอื่น ๆ เช่น ภาษา ประกาศนียบัตร เป็นต้น
  • ใส่ประสบการณ์การทำงานและผลงาน เพื่อแนะนำตัวว่าคุณมีประสบการณ์และทักษะอะไรที่เหมาะสมสำหรับการตำแหน่งงานนั้นบ้าง และมีผลงานอะไรที่เคยทำไว้
  • พูดถึงประสบการณ์ในการทำงานที่คุณเคยผ่านมา หากยังไม่มีประสบการณ์ ให้พูดถึงสาขาที่เรียน วิชาที่เรียน หรือประสบการณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องแทน
  • เขียนข้อมูลด้านการศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท (ถ้ามี)
  • ใส่ทักษะสำหรับการทำงาน (hard skill) และการเข้าสังคม (soft skill) ที่คุณมีและเหมาะสำหรับงานที่คุณต้องการสมัคร
  • เพิ่มส่วนเพิ่มเติมอื่น ๆ เพื่อให้ CV ของคุณมีความโดดเด่นมากขึ้น เช่น ภาษา และความสนใจอื่น ๆ เป็นต้น

เขียนเรซูเม่ที่เหมาะกับ Cover letter ของคุณ

ใบสมัครงานมีทั้งในรูปแบบของ Cover letter ที่มีความยาว 2-20 หน้า และเรซูเม่ที่มีความยาว 1-2 หน้า ซึ่งเรซูเม่มักถูกนำไปใช้ในการสมัครเพื่อขอฝึกงานหรือทำงานกับบริษัททั่วไป ในขณะที่ CV มักถูกนำไปใช้ในการสมัครงานในตำแหน่งเชิงวิชาการ นักวิจัย หรืองานที่มีข้อมูลอ้างอิงมากกว่า เพืื่อเพิ่มข้อมูลอ้างอิงที่เคยทำเกี่ยวกับงานวิจัย ผลงานทางวิชาการเข้าหรือประกาศนียบัตรเพิ่มมาด้วย

หกคุณต้องการสร้างเรซูเม่ ก็สามารถเลือกชมได้ที่ตัวอย่างเรซูเม่ของเรา แต่ถ้าบริษัทที่คุณต้องการสมัครต้องการเอกสารสมัครงานในรูปแบบของ CV ก็สามารถเลือกชมตัวอย่าง Cover letter ของเราได้ที่นี่

บทความที่คล้ายกัน