ในการสมัครงานโดยทั่วไป ผู้จ้างงานมักจะขอเอกสารสมัครงาน ไม่ว่าจะเป็น CV หรือเรซูเม่สำหรับพิจารณาเข้าทำงาน โดยพวกเขาจะได้ทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับคุณในด้านการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงานที่คุณมี การเตรียมพร้อมสำหรับการเขียน CV ให้น่าสนใจจะช่วยให้คุณสามารถเขียน CV นักสังคมสงเคราะห์ของคุณให้โดดเด่นและแตกต่างไปจากคู่แข่งได้ ในบทความนี้คุณจะได้ดูทั้งตัวอย่างในการเขียน และมีเทมเพลตสำหรับการเขียน CV ไว้ไปใช้ด้วย
อาชีพของนักสังคมสงเคราะห์ทำหน้าที่ในการช่วยให้คุณภาพชีวิตของตัวบุคคลหรือครอบครัวดีขึ้น พวกเขาช่วยให้ลูกค้าสามารถเตรียมตัวและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในชีวิตด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การหย่าร้าง อาการป่วย อาการซึมเศร้าจากประสบการณ์ที่ไม่ดีในอดีต ไปจนถึงการว่างงาน โดยนักสังคมสงเคราะห์มีหน้าที่ในการช่วยเหลือกลุ่มคนต่าง ๆ ตั้งแต่ เด็ก ผู้ใหญ่ ไปจนถึงผู้พิการ ผ่านการประเมินและจัดเตรียมวิธีการรักษาและสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นให้กับลูกค้า เช่น ที่อยู่อาศัย ช่วยหางาน จัดหาอาหาร ดูแลเด็ก ไปจนถึงด้านสุขอนามัยของพวกเขาด้วย
ในบทความนี้เราจะเจาะลึกกันว่า ถ้าคุณต้องการส่ง CV นักสังคมสงเคราะห์เพื่อสมัครงานในองค์กรที่คุณต้องการ CV นั้นควรมีหน้าตาเป็นอย่างไร และควรมีข้อมูลอะไรในนั้นบ้าง
ตัวอย่าง CV นักสังคมสงเคราะห์
นักสังคมสงเคราะห์
227/8 ถนนสุขาภิบาล 3
แขวงออเงิน เขตสายไหม
กรุงเทพมหานคร 10220
065-998-2341
Bpummanee@gmail.com
Linkedin.com/in/bpummanee
สรุปทักษะและผลงานจากการทำงาน
มีประสบการณ์ทำงานด้านสังคมสงเคราะห์ผ่านการสำรวจ สัมภาษณ์เพื่อสอบประวัติ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับข้อเท็จจริงและสาเหตุต่าง ๆ ในการหาวิธีแก้ปัญหาเพื่อบริการช่วยเหลือเด็กกำพร้าและผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง เพื่อให้ผู้รับการสงเคราะห์มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถพึ่งตนเองในสังคมได้ ให้การช่วยเหลือ พร้อมร่วมมือกับองค์กรในการจัดกิจกรรมเพื่อฟื้นฟูทั้งด้านร่างกายและจิตใจของผู้ประสบภัย
ประสบการณ์การทำงาน
สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
นักสังคมสงเคราะห์
สิงหาคม 2561 – สิงหาคม 2564
- ให้คำปรึกษาแนะนำผู้มาใช้บริการ สอบถามเพื่อซักประวัติ และประสานงานกับหน่วยงานหรือองค์กรบริการทางสังคมที่เกี่ยวข้อง เช่น หาอาชีพที่เหมาะสม หาแหล่งที่พัก และหาทุนประกอบอาชีพ เป็นต้น
- ทำงานวิจัยเกี่ยวกับการสังคมสงเคราะห์เพื่อใช้ในการป้องกันปัญหาและแก้ไข
- ดูแลปัญหาครอบครัวแตกแยก อาชีพและสวัสดิการครอบครัว และทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น จัดระบบงานโครงสร้างทางสังคม การศึกษา จัดหางานอาชีพ และสันทนาการ พร้อมทั้งจัดสัมมนาเชิงวิชาการ
การศึกษา
ปริญญาตรี คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มีนาคม 2561
กิจกรรมอื่น ๆ เพิ่มเติม
สมาชิกชมรมสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัย
เข้าร่วมโครงการ Work and Travel ในประเทศสหรัฐอเมริกา
ใบประกาศนียบัตร
TOEIC 650 คะแนน
อัตราและเงินเดือนของนักสังคมสงเคราะห์
จากข้อมูลฐานเงินเดือนนักสังคมสงเคราะห์ของ สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการและนักพัฒนาสังคมปฏิบัติการซึ่งเป็นตำแหน่งทางวิชาการมีฐานเงินเดือนของบัณฑิตจบใหม่อยู่ที่ประมาณ 15,000 – 16,500 บาท ส่วนตำแหน่งเจ้าพนักงานพัฒนาสังคมปฏิบัติการทั่วไป มีฐานเงินเดือนของบัณฑิตจบใหม่อยู่ที่ประมาณ 11,500 – 12,650 บาท
วิธีเขียน CV นักสังคมสงเคราะห์
CV นักสังคมสงเคราะห์ที่ดีควรมีเนื้อหาที่สำคัญอย่างครอบคลุม มีการจัดเรียงโครงสร้างที่ดี เพื่อที่ให้อ่านได้ง่ายและไม่เต็มไปด้วยข้อมูลที่ไม่จำเป็นมากจนเกินไป โดยโครงสร้างพื้นฐานของ CV ส่วนใหญ่มักประกอบไปด้วยเนื้อหาในเบื้องต้น ดังต่อไปนี้:
- ประวัติส่วนตัวและข้อมูลสำหรับติดต่อ
- ตำแหน่งที่ต้องการสมัครงาน
- สรุปทักษะและผลงานจากการทำงาน (Professional Summary)
- ประสบการณ์การทำงานหรือประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
- การศึกษา
- ทักษะ
- ส่วนเพิ่มเติมอื่น ๆ (เช่น ภาษา, ใบประกาศนียบัตร, รางวัลที่ได้รับ และความสนใจส่วนตัวอื่น ๆ เป็นต้น)
จัดเรียงข้อมูลบน CV นักสังคมสงเคราะห์ของคุณอย่างไรให้น่าสนใจ
- ให้ระบุตำแหน่งงานที่คุณต้องการสมัครไว้ที่หัวข้อ HR จะได้รู้ว่าคุณสมัครเข้ามาในตำแหน่งอะไร เนื่องจากองค์กรอาจจะกำลังเปิดรับสมัครหลาย ๆ ตำแหน่งพร้อม ๆ กัน
- เวลาที่เขียน CV ให้เขียนตอบโจทย์กับคุณสมบัติและประสบการณ์ที่องค์กรต้องการและตัวคุณเองก็มี เพื่อแสดงให้เขาเห็นว่าคุณเหมาะสำหรับตำแหน่งนั้นจริง ๆ
- ควรจัดรูปแบบให้น่าสนใจ โดยเขียนประสบการณ์ในการทำงานจากใหม่ไปเก่า เน้นประสบการณ์ใหม่ล่าสุดที่มี และเรียงหัวข้อหลักตามลำดับ แล้วเพิ่มส่วนเพิ่มเติมอื่น ๆ ไว้ในส่วนท้าย
โครงสร้างของ CV นักสังคมสงเคราะห์
ผู้พิจารณา CV หรือ HR มักเลือกพนักงานใหม่ให้เข้ามาทำงานผ่าน CV หรือเรซูเม่ ซึ่งเป็นเอกสารสมัครงานที่มีข้อมูลเกี่ยวกับทักษะด้านการทำงาน รางวัลที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่เคยได้รับ ซึ่งควรประกอบไปด้วยคีย์เวิร์ดที่สำคัญที่ตอบโจทย์สิ่งที่พวกเขาตามหา ตัวอย่างเช่น ชื่อตำแหน่งงานที่ต้องการสมัคร เพื่อบ่งบอกอย่างชัดเจนว่าต้องการสมัครงานในตำแหน่งใด เนื่องจากองค์กรนั้นอาจกำลังเปิดรับสมัครงานหลายตำแหน่งอยู่ก็เป็นได้ จะได้ป้องกันการสับสน
ขนาดฟอนต์ที่ควรใช้คือประมาณ 10-12 และควรเป็นฟอนต์ที่อ่านง่าย
ซึ่งฟอนต์แนะนำสำหรับ CV ภาษาอังกฤษ ได้แก่ Calibri, Times New Roman, Cambria และ Arial และ ฟอนต์แนะนำและได้รับความนิยมสำหรับไปใช้ใน CV ภาษาไทย ก็คือ TH Sarabun New
รูปแบบของ CV
รูปแบบของ CV ที่ดีสามารถแบ่งออกได้เป็นทั้งหมด 3 แบบ ดังนี้
- รูปแบบตามลำดับเวลา เขียนเกี่ยวกับประสบการณ์ในการทำงานโดยเรียงตามลำดับเวลา เพื่อแสดงให้ผู้อ่านเห็นว่า ผู้สมัครมีทักษะและประสบการณ์การทำงานมาจากที่ไหนบ้างก่อนหลัง
- รูปแบบโชว์ทักษะส่วนตัว แสดงให้เห็นถึงทักษะและความรู้ที่ได้สั่งสมมาระหว่างเรียน เหมาะสำหรับนักศึกษาจบใหม่ยังไม่ค่อยมีประสบการณ์ในการทำงานมากนัก
- รูปแบบผสม พูดถึงทักษะและประสบการณ์ในการทำงานที่ได้สั่งสมมาตามลำดับเวลา เพื่อเน้นให้เห็นว่ามีผลการเรียนที่ดี และยังมีประสบการณ์ที่น่าสนใจอีกด้วย
หัวข้อเรื่องและข้อมูลการติดต่อ
หัวข้อเรื่องและข้อมูลการติดต่อคือข้อมูลส่วนแรกที่ควรปรากฎอยู่บน CV โดยประกอบไปด้วยข้อมูลอย่างชื่อ ตำแหน่งที่ต้องการสมัคร และข้อมูลสำหรับติดต่อ ควรบอกถึงตำแหน่งงานที่สมัครบน CV เพื่อที่ HR จะสามารถสังเกตเห็นได้ในทันที
นักสังคมสงเคราะห์
227/8 ถนนสุขาภิบาล 3
แขวงออเงิน เขตสายไหม
กรุงเทพมหานคร 10220
065-998-2341
Bpummanee@gmail.com
Linkedin.com/in/bpummanee
227/8 ถนนสุขาภิบาล 3 แขวงออเงิน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร 10220
065-998-2341
Bpum2287@gmail.com
Facebook.com/Bpum2287
Line ID: 6679888
รูปภาพที่ใช้ใส่ใน CV นักสังคมสงเคราะห์ ควรเป็นรูปที่แต่งกายสุภาพ โดยควรทางการมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะ และวัฒนธรรมขององค์กรที่คุณต้องการร่วมงานด้วย
ข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์ใน CV นักสังคมสงเคราะห์
ประสบการณ์การทำงาน ให้เขียนถึงชื่อบริษัท ตำแหน่งงาน ระยะเวลาทำงาน ตามลำดับ พร้อมใช้เครื่องหมายนำสายตาเพื่อเขียนเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบที่มีต่อตำแหน่งงานนั้น ๆ ผู้พิจารณา CV ของคุณจะได้มีไอเดียว่าคุณเคยทำอะไรมาบ้าง และเหมาะสำหรับตำแน่งงานที่พวกเขาเปิดรับมากน้อยแค่ไหน จึงสำคัญมากที่คุณควรจะอ่านคุณสมบัติหรือประกาศรับสมัครงานของพวกเขาให้ดี เพื่อเขียน CV ให้ตอบโจทย์มากที่สุด
ตัวอย่างประสบการณ์ทำงานของนักสังคมสงเคราะห์
สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
นักสังคมสงเคราะห์
สิงหาคม 2561 – สิงหาคม 2564
- ให้คำปรึกษาแนะนำผู้มาใช้บริการ สอบถามเพื่อซักประวัติ และประสานงานกับหน่วยงานหรือองค์กรบริการทางสังคมที่เกี่ยวข้อง เช่น หาอาชีพที่เหมาะสม หาแหล่งที่พัก และหาทุนประกอบอาชีพ เป็นต้น
- ทำงานวิจัยเกี่ยวกับการสังคมสงเคราะห์เพื่อใช้ในการป้องกันปัญหาและแก้ไข
- ดูแลปัญหาครอบครัวแตกแยก อาชีพและสวัสดิการครอบครัว และทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น จัดระบบงานโครงสร้างทางสังคม การศึกษา จัดหางานอาชีพ และสันทนาการ พร้อมทั้งจัดสัมมนาเชิงวิชาการ
การศึกษา
หัวข้อด้านการศึกษามักประกอบไปด้วยข้อมูลชื่อมหาวิทยาลัย ระดับการศึกษา และระยะเวลาที่สำเร็จการศึกษา
ตัวอย่างการเขียนหัวข้อการศึกษาใน CV
ปริญญาตรี คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มีนาคม 2561
ทักษะสำหรับ CV นักสังคมสงเคราะห์
เมื่อพูดถึงทักษะที่คุณสามารถใส่ไว้ใน CV หรือเอกสารสมัครงานโดยทั่วไปได้ ก็แบ่งออกได้เป็นทักษะเฉพาะทางที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพ (hard skills) และทักษะในการเข้าสังคม (soft skills) ซึ่งทักษะเหล่านี้ที่นักสังคมสงเคราะห์ควรมี ได้แก่
ทักษะเฉพาะทาง
- มีทักษะด้านการสื่อสารที่ดี
- มีทักษะในการจัดการและดำเนินงานตามเป้าหมายและเดดไลน์
- มีทักษะในการคิดวิเคราะห์
- มีความรู้ด้านวัฒนธรรมและยอมรับความแตกต่าง
- สนับสนุนการทำงานเพื่อสังคมและเป็นกระบอกเสียงเมื่อมีโอกาส
- มีความเชี่ยวชาญในการทำงานด้านสังคมสงเคราะห์
- มีทักษะในการพูดในที่สาธารณะ
- อัปเดตความรู้ด้านสังคมสงเคราะห์ทั้งในไทยและต่างประเทศอยู่เสมอ
ทักษะการเข้าสังคม
- มีความเข้าอกเข้าใจและใส่ใจผู้อื่น
- มีทักษะของการเป็นผู้ฟังที่ดี
- ดูแลตัวเองได้ดี ไม่เครียดจากการทำงานจนเกินไป
- มีความอดทนสูง
- เป็นคนตรงต่อเวลา
- เป็นคนสุภาพ
- เป็นมิตร
- มีความรักในการช่วยเหลือผู้อื่นและเชื่อในการพัฒนาสังคม
ทักษะและผลงานโดยสรุป
สำหรับนักศึกษาที่เพิ่งจบใหม่ มักเขียนเป็นจุดมุ่งหมายในการทำงาน (Career Objective) แต่ถ้าเคยมีประสบการณ์การทำงานมาก่อน ก็จะเป็นสรุปเกี่ยวกับทักษะและงานผลงานประมาณ 4-5 บรรทัด เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของคุณ และความตั้งใจที่อยากจะเข้ามาร่วมงานกับบริษัทที่คุณกำลังสมัครงานด้วย
ส่วนเพิ่มเติม
ส่วนเพิ่มเติมได้จะช่วยแสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่ครอบคลุมมากขึ้น ได้แก่ ทักษะภาษา กิจกรรมที่เคยทำ และไปรษณียบัตรที่เคยได้รับ หากมีผลงานทางวิชาการที่เคยได้รับการตีพิมพ์ ก็สามารถเพิ่มหัวข้อ และแนบ Reference ให้สำหรับผู้พิจารณา CV เพิ่มเติมได้เช่นกัน
ภาษา
ภาษาเป็นทักษะที่มีความสำคัญสำหรับแทบทุกอาชีพ โดยเฉพาะถ้าองค์กรของคุณเป็นบริษัทจากต่างชาติ มีเพื่อนร่วมงานหรือลูกค้าเป็นชาวต่างชาติ ถ้าคุณมีคะแนนสอบวัดผลทางภาษา เช่น TOEFL หรือ IELTS สำหรับภาษาอังกฤษ หรือมีประสบการณ์อื่น ๆ เช่นเคยไปแลกเปลี่ยนที่ต่างประเทศ ก็สามารถอธิบายไว้ใน CV ได้เช่นกัน
เคล็ดลับในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ CV นักสังคมสงเคราะห์
- เลือกรูปแบบ CV ที่เหมาะสมสำหรับตำแหน่งงานที่คุณต้องการสมัคร ซึ่งหากเป็นงานด้านวิชาชีพที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ รูปแบบ CV ก็ควรเป็นแบบทางการเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ผู้อ่านสามารถดูรูปแบบ CV ที่น่าสนใจได้ที่ตัวอย่างรูปแบบ CV
- ปรับ CV ให้เหมาะสำหรับตำแหน่งงานและบริษัทที่ต้องการร่วมงานด้วย ไม่ใช้ CV เดียวสำหรับการสมัครงานทั้งหมด เพราะไม่มีความเฉพาะเจาะจงหรือน่าสนใจมากพอ เนื่องจากไม่ได้ทำขึ้นมาเพื่องานนั้น ๆ จริง ๆ และผู้อ่านสามารถรับรู้ได้
- หากคุณมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสายงานที่ต้องการสมัคร ก็ให้เน้นเกี่ยวกับประสบการณ์เหล่านั้น เพื่อแสดงให้ผู้ที่พิจารณา CV เห็นว่าคุณมีความเหมาะสมกับตำแหน่งงานนั้นจริง ๆ แต่ถ้าคุณยังไม่มีประสบการณ์มากนัก ก็ให้เน้นเขียนเกี่ยวกับการศึกษาที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งทักษะที่มีที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานนั้นแทน
- ก่อนจะส่ง CV ให้อ่านทบทวนอีกครั้งให้ดีก่อนส่ง เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลทั้งหมดถูกต้อง ครบถ้วน และไม่มีคำสะกดผิด
สรุปประเด็นสำคัญในการเขียน CV
- CV ควรประกอบไปด้วยข้อมูลประวัติส่วนตัว, ตำแหน่งงานที่ต้องการสมัคร, ข้อมูลติดต่อ, สรุปทักษะและผลงานในการทำงาน (professional summary), ประสบการณ์การทำงาน, การศึกษา, ทักษะ และส่วนเพิ่มเติมอื่น ๆ
- สรุปทักษะและผลงาน เป็นการกล่าวถึงทักษะและผลงานที่คุณเคยทำไว้โดยสรุป เป็นส่วนที่จะดึงดูดให้ผู้พิจารณา CV อ่าน CV ของคุณได้ตั้งแต่ต้นจนจบ หากคุณสรุปให้เห็นถึงทักษะและความสามารถที่เป็นประโยชน์สำหรับบริษัทได้จริง ๆ
- ประสบการณ์ด้านการทำงานเป็นส่วนที่สำคัญมากสำหรับ CV นอกจากที่จะต้องพูดถึงชื่อบริษัท ตำแหน่ง และระยะเวลาในการทำงานแล้ว ยังจะต้องพูดถึงหน้าที่การทำงานอย่างน้อย 3 ข้อ เพื่อแสดงให้เห็นถึงทักษะด้านการทำงานของคุณได้อย่างชัดเจน
- ข้อมูลด้านการศึกษาให้ใส่ทั้งหมด ทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท (ถ้ามี)
- ควรเขียนถึงทักษะสำหรับการทำงาน (hard skill) และทักษะการเข้าสังคม (soft skill) ที่คุณมีด้วย
- ใส่ส่วนเพิ่มเติมอื่น ๆ เพื่อให้ CV ของคุณโดดเด่นจากผู้สมัครรายอื่น ๆ เช่น ทักษะด้านภาษา ใบประกาศนียบัตรที่ได้รับ และผลงานวิชาการที่เคยได้รับการตีพิมพ์ เป็นต้น
เขียนเรซูเม่ที่เหมาะกับ Cover letter ของคุณ
นอกจากการเขียน CV แล้ว ก็มีเรซูเม่ที่เป็นอีกหนึ่งเอกสารสำหรับใช้สมัครงานเหมือนกัน โดยเรซูเม่จะมีข้อมูลด้านการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และความสามารถโดยสังเขป ความยาวประมาณ 1-2 หน้า ส่วน CV มีความยาวมากกว่า ประมาณ 2-20 หน้า เนื่องจากมีข้อมูลเชิงลึกที่มากกว่า
เช่น ทักษะ ประสบการณ์การทำงานโดยละเอียด การศึกษา ส่วนเพิ่มเติม เช่น งานวิชาการที่เคยได้รับการตีพิมพ์ลงวารสารวิชาการ เป็นต้น เพราะ CV มักถูกนำไปใช้ในการสมัครงานในตำแหน่งเชิงวิชาการหรือเป็นนักวิจัย ส่วนเรซูเม่สำหรับใช้ในการสมัครฝึกงานหรือทำงานกับบริษัทโดยทั่วไป ซึ่งคุณสามารถดูตัวอย่างเรซูเม่ ที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ตามลิงก์ที่แนบนี้