CV ช่างภาพ | เคล็ดลับและตัวอย่างการเขียน

คะแนนเฉลี่ยสำหรับเทมเพลตนี้

ช่างภาพเป็นอาชีพที่หลาย ๆ คนใฝ่ฝัน เพราะเป็นงานที่ได้ทำในสิ่งที่รักและได้ผลตอบแทนจากสิ่งนั้นด้วยในเวลาเดียวกัน งานช่างภาพนั้นมีทั้งในรูปแบบของงานอิสระที่รับงานเป็นงาน ๆ หรือเป็นงานประจำในองค์กรที่ต้องการช่างภาพในระยะยาว เช่น สำนักงานข่าว บริษัทที่เกี่ยวข้องกับสิ่งพิมพ์  เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร โปสเตอร์ บริษัทผลิตสื่อโฆษณา สื่อกระจายภาพและเสียง เช่น โรงภาพยนตร์และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งบริษัทที่รับทำอีเวนต์ต่าง ๆ อย่างเช่น งานแต่งงาน หรือบริษัทที่เปิดสตูดิโอเพื่อรับถ่ายภาพโดยเฉพาะ สื่ออื่นๆ เช่น งานประเภทป้าย ณ จุดต่าง ๆ นอกสถานที่ เป็นต้น

นอกจากนั้นก็ยังมีโอกาสสำคัญต่าง ๆ มากมายที่มักต้องการช่างภาพประจำงาน ได้แก่ งานอุปสมบท, งานพิธีมงคลสมรสหรือการแต่งงาน, งานพิธีฌาปนกิจศพ, งานรับปริญญา, การถ่ายพรีเวดดิ้ง และงานแต่งงาน

หากคุณเป็นหนึ่งในช่างภาพที่ต้องการทำ CV เป็นของตัวเองเพื่อสมัครงานในตำแหน่งช่างภาพ มาเรียนรู้รูปแบบและวิธีการเขียน CV ที่ถูกต้องและเหมาะสมเพื่อนำไปปรับใช้ในการจัดเตรียม CV ช่างภาพของคุณได้ผ่านบทความนี้

ตัวอย่าง CV ช่างภาพ

นพกร รัตนากร
ช่างภาพ

566/12 ถนนนวกร
แขวงสี่พระยา เขตบางรัก
กรุงเทพฯ 10600

082-558-1229
nrattana@gmail.com
Linkedin.com/in/nrattana

สรุปทักษะและผลงานจากการทำงาน
ช่างถ่ายภาพมืออาชีพที่มีความมั่นใจ ซื่อสัตย์ และทุ่มเทในการทำงาน เคยมีประสบการณ์ทั้งการทำงานเป็นช่างภาพให้กับองค์กรและทำงานอิสระมานานเกือบ 10 ปี ทั้งรูปภาพพรีเวดดิ้ง รูปรับปริญญา และรูปถ่ายลงนิตยสาร มีความสามารถในการถ่ายภาพที่มีคุณภาพและรวดเร็ว และยังสามารถคัดเลือก และตกแต่งภาพ ผ่านกล้องคุณภาพดี พร้อมเลนส์หลากหลายรูปแบบ ให้ความสำคัญกับการสื่อสารกับลูกค้าเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการทำงาน

ประสบการณ์การทำงาน
Meka Publishing
ช่างถ่ายภาพ
สิงหาคม 2561 – สิงหาคม 2564

  • ถ่ายรูปภาพตามความต้องการของลูกค้า ทั้งนอกอาคาร ในอาคาร ผ่านการเลือกใช้เลนส์ พร้อมการปรับแสงและเงาให้เหมาะสม
  • แก้ไขรูปภาพเพื่อให้แน่ใจได้ว่าลูกค้าจะได้รูปภาพที่มีคุณภาพและเหมาะสม
  • สื่อสารกับลูกค้าอย่างตรงไปตรงมาและตลอดเวลาเพื่อให้แน่ใจได้ว่าลูกค้าจะรู้สึกพึงพอใจผลลัพธ์ที่ได้
  • ได้รับคะแนนความพึงพอใจจากลูกค้า 4.8/5 จากการทำงานเป็นช่างภาพอิสระผ่านเว็บไซต์ฟรีแลนซ์

การศึกษา
ปริญญาตรี สาขาวิชามัลติมีเดียดีไซน์
มหาวิทยาลัยศิลปากร
มีนาคม 2561

กิจกรรมอื่น ๆ เพิ่มเติม
เข้าร่วมโครงการ Work and Travel ในประเทศสหรัฐอเมริกา

ใบประกาศนียบัตร
TOEIC 650 คะแนน

อัตราและเงินเดือนของช่างถ่ายภาพ

สำหรับช่างภาพอิสระ รายได้อยู่ที่ประมาณ 1,500 – 4,000 บาทต่องาน ช่างภาพอาชีพหรือเฉพาะทาง รายได้อยู่ที่ 6,000 – 15,000 บาทต่องาน เจ้าของสตูดิโอถ่ายภาพ รายได้อยู่ที่ 15,000 – 30,000 บาทต่องาน ทั้งนี้รายได้นั้นขึ้นอยู่กับฝีมือและคุณภาพของผลงานด้วย

วิธีเขียน CV ช่างภาพ

CV ช่างภาพที่ดี ควรมีเนื้อหาที่ดีและครอบคลุม พร้อมทั้งโครงสร้างที่มีการจัดเรียงอย่างเหมาะสมด้วย เพื่อให้ผู้พิจารณา CV อย่างเช่นทีม HR สามารถอ่าน CV ของคุณได้ง่าย โดยโครงสร้างพื้นฐาน CV ในเบื้องต้นควรประกอบไปด้วยเนื้อหาดังต่อไปนี้:

  • ประวัติส่วนตัวและข้อมูลสำหรับติดต่อ
  • ตำแหน่งที่ต้องการสมัครงาน
  • สรุปทักษะและผลงานจากการทำงาน (Professional Summary)
  • ประสบการณ์การทำงานหรือประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
  • การศึกษา
  • ทักษะ
  • ส่วนเพิ่มเติมอื่น ๆ (เช่น ภาษา, ใบประกาศนียบัตร, รางวัลที่ได้รับ และความสนใจส่วนตัวอื่น ๆ เป็นต้น)

เทคนิคในการจัดเรียงโครงสร้าง CV ช่างภาพของคุณให้น่าสนใจ

  • ควรเขียน CV ให้เขียนตอบโจทย์กับคุณสมบัติและประสบการณ์ที่องค์กรกำลังมองหา ในขณะตัวคุณเองก็มีสิ่งนั้น อ่านประกาศรับสมัครงานให้ดี พร้อมทั้งเขียนเพื่อแสดงให้เขาเห็นว่าคุณมีความเหมาะสมสำหรับงานนั้นอย่างไรบ้าง
  • อย่าลืมระบุตำแหน่งงานที่คุณต้องการสมัครไว้ที่ทั้งบนหัวข้ออีเมลและหัวข้อ CV ของคุณ HR จะได้รู้ได้ในทันทีเลยว่าคุณสมัครเข้ามาในตำแหน่งอะไร เนื่องจากองค์กรอาจจะกำลังเปิดรับสมัครหลาย ๆ ตำแหน่งพร้อม ๆ กัน หากคุณลืมตรงนี้ไป อาจทำให้ CV ของคุณตกหล่นไปอย่างน่าเสียดาย
  • จัดรูปแบบ CV ให้น่าสนใจ และเขียนประสบการณ์ในการทำงานจากใหม่ไปเก่า เพื่อเน้นประสบการณ์ใหม่ล่าสุดก่อน พร้อมทั้งเพิ่มส่วนเพิ่มเติมที่สำคัญอื่น ๆ ไว้ในส่วนท้ายด้วย

โครงสร้างของ CV ช่างภาพ

ผู้พิจารณา CV จะดูข้อมูล CV ว่ามีข้อมูลเกี่ยวกับทักษะหรือรางวัลที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่เคยได้รับอย่างไรบ้าง รงมทั้งรูปแบบที่ควรอ่านง่าย และยังประกอบไปด้วยคีย์เวิร์ดที่สำคัญด้วย อย่างเช่น ชื่อตำแหน่งงานที่ต้องการสมัคร เพื่อให้สังเกตเห็นได้ในทันทีว่า ต้องการสมัครงานในตำแหน่งใด ที่สำคัญก็คือข้อมูลใน CV ควรมีความถูกต้องและไม่มีคำที่สะกดผิด เพื่อแสดงถึงความเป็นผู้เชี่ยวชาญและใส่ใจของคุณที่มีต่อการสมัครงานครั้งนั้นด้วย

ขนาดฟอนต์แนะนำคือที่ประมาณ 10-12 ซึ่งควรเป็นฟอนต์ที่อ่านได้ง่าย ตัวอย่างฟอนต์ที่แนะนำสำหรับ CV ภาษาอังกฤษ คือ Calibri, Times New Roman, Cambria และ Arial ส่วนฟอนต์แนะนำสำหรับ CV ภาษาไทย ได้แก่ TH Sarabun New

รูปแบบของ CV

รูปแบบของ CV โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็นทั้งหมด 3 แบบ ดังนี้

  • รูปแบบตามลำดับเวลา เขียนเกี่ยวกับประสบการณ์ในการทำงานโดยเรียงตามลำดับเวลา เพื่อแสดงให้ผู้อ่านเห็นว่า ผู้สมัครมีทักษะและประสบการณ์การทำงานมาจากที่ไหนบ้างก่อนหลัง
  • รูปแบบโชว์ทักษะส่วนตัว แสดงให้เห็นถึงทักษะและความรู้ที่ได้สั่งสมมาระหว่างเรียน เหมาะสำหรับนักศึกษาจบใหม่ยังไม่ค่อยมีประสบการณ์ในการทำงานมากนัก
  • รูปแบบผสม พูดถึงทักษะและประสบการณ์ในการทำงานที่ได้สั่งสมมาตามลำดับเวลา เพื่อเน้นให้เห็นว่ามีผลการเรียนที่ดี และยังมีประสบการณ์ที่น่าสนใจอีกด้วย

หัวข้อเรื่องและข้อมูลการติดต่อ

หัวข้อเรื่องและข้อมูลการติดต่อคือส่วนแรกของ CV ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูลอย่างชื่อ ตำแหน่งที่ต้องการสมัคร และข้อมูลสำหรับติดต่อ ซึ่งควรมีการบอกถึงตำแหน่งงานที่สมัครบน CV ในหัวข้อนี้ด้วย เพื่อที่จะให้ HR สามารถสังเกตเห็นได้ในทันทีเลยว่านี่คือ CV ช่างภาพ

หัวเรื่องที่ดี
นพกร รัตนากร
ช่างภาพ

566/12 ถนนนวกร
แขวงสี่พระยา เขตบางรัก
กรุงเทพฯ 10600

082-558-1229
nrattana@gmail.com
Linkedin.com/in/nrattana

หัวเรื่องที่ไม่ดี
นพกร รัตนากร
566/12 ถนนนวกร แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10600
082-558-1229 nratta33980@gmail.com Linkedin.com/in/nrattana
Facebook.com/nratta33980
Line ID: Rattana8899
📌 คำแนะนำ: ข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อและข้อมูลสำหรับติดต่อควรใส่แค่ข้อมูลที่จำเป็นเท่านั้น โดยควรเขียนให้กระชับ อ่านแล้วเข้าใจและจับใจความได้ง่าย ไม่ควรเขียนที่อยู่ที่ยาวและติดกันจนเกินไป ส่วนอีเมลก็ควรใช้แบบทางการที่เหมาะสำหรับสมัครงานโดยเฉพาะ และไม่ต้องใส่ลิงก์โซเชียลมีเดียเพราะไม่จำเป็น

ส่วนรูปภาพสำหรับใส่ใน CV ช่างภาพ ควรเป็นรูปที่ผู้สมัครแต่งกายสุภาพ โดยควรทางการมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะและวัฒนธรรมขององค์กรที่คุณต้องการร่วมงานด้วย

ข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์ใน CV ช่างภาพ

ประสบการณ์การทำงาน ในหัวข้อนี้มักประกอบไปด้วยข้อมูลอย่างชื่อบริษัท ตำแหน่งงาน ระยะเวลาทำงาน เรียงตามลำดับ คุณสามารถใช้เครื่องหมายนำสายตา เพื่อเขียนเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบที่มีต่อตำแหน่งงานนั้น ๆ อย่างเป็นระเบียบและอ่านได้ง่าย

ตัวอย่างประสบการณ์ทำงานของช่างถ่ายภาพ

ประสบการณ์การทำงาน
Meka Publishing
ช่างถ่ายภาพ
สิงหาคม 2561 – สิงหาคม 2564
  • ถ่ายรูปภาพตามความต้องการของลูกค้า ทั้งนอกอาคาร ในอาคาร ผ่านการเลือกใช้เลนส์ พร้อมการปรับแสงและเงาให้เหมาะสม
  • แก้ไขรูปภาพเพื่อให้แน่ใจได้ว่าลูกค้าจะได้รูปภาพที่มีคุณภาพและเหมาะสม
  • สื่อสารกับลูกค้าอย่างตรงไปตรงมาและตลอดเวลาเพื่อให้แน่ใจได้ว่าลูกค้าจะรู้สึกพึงพอใจผลลัพธ์ที่ได้
  • ได้รับคะแนนความพึงพอใจจากลูกค้า 4.8/5 จากการทำงานเป็นช่างภาพอิสระผ่านเว็บไซต์ฟรีแลนซ์

การศึกษา

การศึกษา หัวข้อนี้จะประกอบไปด้วยข้อมูลชื่อมหาวิทยาลัย ระดับการศึกษา และระยะเวลาที่สำเร็จการศึกษา

ตัวอย่างการเขียนหัวข้อการศึกษาใน CV

การศึกษา
ปริญญาตรี สาขาวิชามัลติมีเดียดีไซน์
มหาวิทยาลัยศิลปากร
มีนาคม 2561

ทักษะสำหรับ CV ช่างภาพ

ทักษะที่ควรใส่ใน CV โดยทั่วไปนั้นจะประกอบไปด้วยทักษะ 2 อย่่างหลัก ๆ ด้วยกันคือทักษะเฉพาะทางที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพ (hard skills) และทักษะในการเข้าสังคม (soft skills) โดยตัวอย่างดังต่อไปนี้คือทักษะต่าง ๆ ที่คุณสามารถนำไปใส่ได้ใน CV ช่างภาพของคุณ

ทักษะเฉพาะทาง

  • หัวศิลป์
  • มีความคิดสร้างสรรค์
  • รู้เทคนิคในการถ่ายภาพ
  • รู้เทคนิคการใช้แสง
  • รู้ซอฟต์แวร์ในการจัดแต่งภาพคุณภาพสูง
  • มีกล้องและเลนส์คุณภาพสูงและรู้วิธีการใช้งานเป็นอย่างดี
  • ใส่ใจรายละเอียด
  • พัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลาผ่านการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ

ทักษะการเข้าสังคม

  • มีทักษะในการสื่อสารที่ดี
  • ตรงต่อเวลา
  • เข้าใจความต้องการของลูกค้า
  • ทำงานภายใต้ความกดดันได้
  • ส่งงานตรงต่อเวลา
  • มีความอดทน
  • เป็นมิตร
  • ใจเย็นและสุภาพ

ทักษะและผลงานโดยสรุป

นักศึกษาที่เพิ่งจบใหม่มักเขียนส่วนนี้เป็นจุดมุ่งหมายในการทำงาน (Career Objective) แต่หากเคยมีประสบการณ์การทำงานมาก่อน ให้เขียนเป็นการสรุปเกี่ยวกับทักษะและงานผลงานความยาวที่ประมาณ 4-5 บรรทัด เพื่อแสดงให้ผู้อ่่าน CV เห็นถึงศักยภาพและผลงานของคุณที่ผ่านมา

ตัวอย่างที่ถูกต้อง
ช่างถ่ายภาพมืออาชีพที่มีความมั่นใจ ซื่อสัตย์ และทุ่มเทในการทำงาน เคยมีประสบการณ์ทั้งการทำงานเป็นช่างภาพให้กับองค์กรและทำงานอิสระมานานเกือบ 5 ปี ทั้งรูปภาพพรีเวดดิ้ง รูปรับปริญญา และรูปถ่ายลงนิตยสาร มีความสามารถในการถ่ายภาพที่มีคุณภาพและรวดเร็ว และยังสามารถคัดเลือก และตกแต่งภาพ ผ่านกล้องคุณภาพดี พร้อมเลนส์หลากหลายรูปแบบ ให้ความสำคัญกับการสื่อสารกับลูกค้าเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการทำงาน
💡ตัวอย่างด้านบนมีการพูดถึงคุณสมบัติที่ดีของการเป็นช่างภาพที่คุณมี ประสบการณ์ในการทำงานที่ผ่านมา ระยะเวลาในการทำงาน รวมทั้งผลงานที่เคยทำมาก่อน
ตัวอย่างที่ไม่ถูกต้อง
จบการศึกษาจากสาขาวิชาการออกแบบ มหาวิทยาลัยศิลปากร รับงานช่างภาพมาตลอดเวลา 5 ปี ทั้งงานประจำและงานอิสระ ชื่นชอบการถ่ายภาพมาก และต้องการทำงานกับบริษัทสื่อพิมพ์เพื่อถ่ายภาพลงนิตยสาร
💡 ตัวอย่างด้านบนสั้นจนเกินไป ไม่ได้พูดถึงประสบการณ์หรือทักษะของการเป็นช่างภาพของตัวเองนัก ที่สำคัญคือไม่มีการพูดถึงผลงานที่เคยได้ทำ เพื่อให้ดึงดูดสายตาผู้อ่าน CV ด้วย

ส่วนเพิ่มเติม

ส่วนเพิ่มเติมได้จะช่วยแสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่ครอบคลุมมากขึ้น ได้แก่ กิจกรรมที่อื่น ๆ ที่เคยทำ รวมไปถึงทักษะภาษา และไปรษณียบัตรที่เคยได้รับ และหากมีตัวอย่างภาพถ่ายเด็ด ๆ ก็สามารถแนบไว้ในส่วนเพิ่มเติมนี้ได้

ภาษา

ภาษาเป็นทักษะที่มีความสำคัญสำหรับแทบทุกอาชีพ โดยเฉพาะถ้าองค์กรของคุณเป็นบริษัทจากต่างชาติ มีเพื่อนร่วมงานหรือลูกค้าเป็นชาวต่างชาติ ถ้าคุณมีคะแนนสอบวัดผลทางภาษา เช่น TOEFL หรือ IELTS สำหรับภาษาอังกฤษ หรือมีประสบการณ์อื่น ๆ เช่นเคยไปแลกเปลี่ยนที่ต่างประเทศ ก็สามารถอธิบายไว้ใน CV ได้เช่นกัน

เคล็ดลับในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ CV ช่างภาพ

  • เลือกรูปแบบ CV ที่เหมาะสมสำหรับตำแหน่งงานที่คุณต้องการสมัคร ซึ่งหากเป็นงานด้านวิชาชีพที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ รูปแบบ CV ก็ควรเป็นแบบทางการเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ผู้อ่านสามารถดูรูปแบบ CV ที่น่าสนใจได้ที่ตัวอย่างรูปแบบ CV
  • หากคุณมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสายงานที่ต้องการสมัคร ก็ให้เน้นเกี่ยวกับประสบการณ์เหล่านั้น เพื่อแสดงให้ผู้ที่พิจารณา CV เห็นว่าคุณมีความเหมาะสมกับตำแหน่งงานนั้นจริง ๆ แต่ถ้าคุณยังไม่มีประสบการณ์มากนัก ก็ให้เน้นเขียนเกี่ยวกับการศึกษาที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งทักษะที่มีที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานนั้นแทน
  • ปรับ CV ให้เหมาะสำหรับตำแหน่งงานและบริษัทที่ต้องการร่วมงานด้วย ไม่ใช้ CV เดียวสำหรับการสมัครงานทั้งหมด เพราะไม่มีความเฉพาะเจาะจงหรือน่าสนใจมากพอ เนื่องจากไม่ได้ทำขึ้นมาเพื่องานนั้น ๆ จริง ๆ และผู้อ่านสามารถรับรู้ได้
  • ก่อนจะส่ง CV ให้อ่านทบทวนอีกครั้งให้ดีก่อนส่ง เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลทั้งหมดถูกต้อง ครบถ้วน และไม่มีคำสะกดผิด

สรุปประเด็นสำคัญในการเขียน CV

  • CV ควรประกอบไปด้วยข้อมูลประวัติส่วนตัว, ตำแหน่งงานที่ต้องการสมัคร, ข้อมูลติดต่อ, สรุปทักษะและผลงานในการทำงาน (professional summary), ประสบการณ์การทำงาน, การศึกษา, ทักษะ และส่วนเพิ่มเติมอื่น ๆ
  • สรุปทักษะและผลงาน เป็นการกล่าวถึงทักษะและผลงานที่คุณเคยทำไว้โดยสรุป เป็นส่วนที่จะดึงดูดให้ผู้พิจารณา CV อ่าน CV ของคุณได้ตั้งแต่ต้นจนจบ หากคุณสรุปให้เห็นถึงทักษะและความสามารถที่เป็นประโยชน์สำหรับบริษัทได้จริง ๆ
  • ประสบการณ์ด้านการทำงานเป็นส่วนที่สำคัญมากสำหรับ CV นอกจากที่จะต้องพูดถึงชื่อบริษัท ตำแหน่ง และระยะเวลาในการทำงานแล้ว ยังจะต้องพูดถึงหน้าที่การทำงานอย่างน้อย 3 ข้อ เพื่อแสดงให้เห็นถึงทักษะด้านการทำงานของคุณได้อย่างชัดเจน
  • ข้อมูลด้านการศึกษาให้ใส่ทั้งหมด ทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท (ถ้ามี)
  • ควรเขียนถึงทักษะสำหรับการทำงาน (hard skill) และทักษะการเข้าสังคม (soft skill) ที่คุณมีด้วย
  • ใส่ส่วนเพิ่มเติมอื่น ๆ เพื่อให้ CV ของคุณโดดเด่นจากผู้สมัครรายอื่น ๆ เช่น ทักษะด้านภาษา ใบประกาศนียบัตรที่ได้รับ และผลงานวิชาการที่เคยได้รับการตีพิมพ์ เป็นต้น

เขียนเรซูเม่ที่เหมาะกับ Cover letter ของคุณ

นอกจากการเขียน CV แล้ว ก็มีเรซูเม่ที่เป็นอีกหนึ่งเอกสารสำหรับใช้สมัครงานเหมือนกัน โดยเรซูเม่จะมีข้อมูลด้านการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และความสามารถโดยสังเขป ความยาวประมาณ 1-2 หน้า ส่วน CV มีความยาวมากกว่า ประมาณ 2-20 หน้า เนื่องจากมีข้อมูลเชิงลึกที่มากกว่า

เช่น ทักษะ ประสบการณ์การทำงานโดยละเอียด การศึกษา ส่วนเพิ่มเติม เช่น งานวิชาการที่เคยได้รับการตีพิมพ์ลงวารสารวิชาการ เป็นต้น เพราะ CV มักถูกนำไปใช้ในการสมัครงานในตำแหน่งเชิงวิชาการหรือเป็นนักวิจัย ส่วนเรซูเม่สำหรับใช้ในการสมัครฝึกงานหรือทำงานกับบริษัทโดยทั่วไป ซึ่งคุณสามารถดูตัวอย่างเรซูเม่ ที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ตามลิงก์ที่แนบนี้

บทความที่คล้ายกัน