โปรแกรมเมอร์กำลังเป็นอาชีพที่มาแรงในปัจจุบัน เนื่องด้วยความต้องการของผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีที่เพิ่มมากขึ้น โดยหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์ก็คือเขียนโปรแกรมด้วยภาษาต่าง ๆ อย่างเช่น ภาษา C++ ภาษา Java ตามระบบฐานข้อมูลตามการวางโครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์ และทดสอบระบบก่อนนำไปใช้งานจริง และเนื่องจากการสร้างโปรแกรมมักมีขนาดใหญ่ ทำให้ต้องมีการฟอร์มทีมโปรแกรมเมอร์ขึ้นมาเพื่อช่วยกันเขียนและทดสอบโปรแกรมไปด้วยกัน
โปรแกรมเมอร์มักต้องทำงานร่วมกับนักวิเคราะห์ทางธุรกิจ ผู้ประสานงานเกี่ยวกับความต้องการด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของลูกค้า และทำงานร่วมกับนักวิเคราะห์ระบบ ผู้ทำหน้าที่ในการบริหารและกระจายงานต่าง ๆ ตามความถนัดของโปรแกรมเมอร์แต่ละคน นอกจากนั้นก็ยังต้องทำงานร่วมกับกราฟฟิกดีไซเนอร์เพื่อช่วยให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สวยงาม และเหมาะสำหรับนำไปใช้งาน
ตัวอย่าง CV โปรแกรมเมอร์
โปรแกรมเมอร์
เลขที่ 42 ถนนนเรศ
แขวงสี่พระยา เขตบางรัก
กรุงเทพฯ 10500
063-557-2248
sbausi@gmail.com
Linkedin.com/in/sbausi
สรุปทักษะและผลงานจากการทำงาน
มีประสบการณ์ในการทำงานด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์และแอปพลิเคชันกับบริษัทชั้นนำมาเป็นเวลา 3 ปี สามารถสร้างเว็บไซต์และแอปพลิเคชันได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ขั้นพื้นฐานไปจนถึงแบบอีคอมเมิร์ซ มีประสบการณ์ในการสร้างเว็บไซต์และแอปพลิเคชันมาแล้วกว่า 50 เว็บไซต์ และ 20 แอปพลิเคชัน สร้างรายได้ให้กับบริษัทมากกว่า 6 ล้านบาท ต้องการที่จะร่วมงานกับ PPSoftware เพื่อโอกาสในการพัฒนาเว็บไซต์และแอปพลิเคชันให้กับองค์กรที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และถ่ายทอดความรู้ให้กับพนักงานด้านไอทีขององค์กรในฐานะผู้ฝึกอบรมด้วย
ประสบการณ์การทำงาน
Program Pro
โปรแกรมเมอร์
สิงหาคม 2561 – สิงหาคม 2564
- สร้างเว็บไซต์สำหรับธุรกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โรงแรม ร้านอาหาร และคาเฟ่ เป็นต้น
- สร้างแอปพลิเคชันสำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น แอปพลิเคชันให้ข้อมูลด้านการแพทย์ แอปพลิเคชันสำหรับสอบถามเส้นทางการเดินทางในกรุงเทพ และแอปพลิเคชันสำหรับจองคิวในร้านอาหารและองค์กรต่าง ๆ เป็นต้อง
การศึกษา
ปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มีนาคม 2561
กิจกรรมอื่น ๆ เพิ่มเติม
สมาชิกชมรมคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย
เข้าค่ายวิศวกรซอฟต์แวร์รุ่นเยาว์
เข้าร่วมโครงการ Work and Travel ในประเทศสหรัฐอเมริกา
ใบประกาศนียบัตร
TOEIC 675 คะแนน
อัตราและเงินเดือนโปรแกรมเมอร์
จากข้อมูลฐานเงินเดือนของ Adecco พบว่างานด้านวิศวกรซอฟต์แวร์มีรายได้ตามประสบการณ์ ดังต่อไปนี้
- นักศึกษาจบใหม่ 25,000 – 35,000 บาท
- ประสบการณ์ 1-5 ปี 25,000 – 83,000 บาท
- ประสบการณ์มากกว่า 5 ปี 50,000 – 270,000 บาท
วิธีเขียน CV โปรแกรมเมอร์
CV ที่ดีควรมีเนื้อหาที่ดี และมีการเรียบเรียงโครงสร้างที่ดีด้วย มีการแสดงข้อมูลที่เป็นสัดส่วนเพื่อให้ง่ายในการอ่านสำหรับ HR เพราะการนำเสนอที่ไม่สามารถดึงดูดพอ อาจทำให้คุณพลาดโอกาสไปอย่างน่าเสียดาย
โครงสร้าง CV พื้นฐานควรประกอบไปด้วยเนื้อหาดังต่อไปนี้:
- ประวัติส่วนตัวและข้อมูลสำหรับติดต่อ
- ตำแหน่งที่ต้องการสมัครงาน
- สรุปทักษะและผลงานจากการทำงาน (Professional Summary)
- ประสบการณ์การทำงานหรือประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
- การศึกษา
- ทักษะ
- ส่วนเพิ่มเติมอื่น ๆ (เช่น ภาษา, ใบประกาศนียบัตร, รางวัลที่ได้รับ และความสนใจส่วนตัวอื่น ๆ เป็นต้น)
เทคนิคการจัดเรียงข้อมูลบน CV โปรแกรมเมอร์ของคุณให้น่าสนใจ
- จัดรูปแบบให้น่าสนใจ โดยเริ่มจากการบอกตำแหน่งงานที่คุณต้องการสมัครก่อน เพื่อให้ HR เห็นได้ในทันทีเลยว่าต้องการสมัครเข้ามาในตำแหน่งอะไร และเริ่มพูดถึงประสบการณ์การทำงานจากใหม่ไปเก่า เพื่อเน้นประสบการณ์ใหม่ล่าสุดที่คุณมี
- อ่านข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติของโปรแกรมเมอร์ที่บริษัทต้องการให้ดี แล้วนำมาพิจารณาว่ามีคุณสมบัติในข้อใดบ้างที่ตรงกับคุณ เพื่อนำเสนอ CV ของคุณให้ตอบโจทย์ในสิ่งที่พวกเขาตามหา
- ใส่หัวข้อหลักที่ควรตามลำดับ ก่อนที่จะเพิ่มส่วนเพิ่มเติมอื่น ๆ ที่ต้องการไว้ในส่วนท้าย
โครงสร้างของ CV โปรแกรมเมอร์
โดยทั่วไปแล้ว HR มักให้ความสำคัญในการเลือกคนเข้ามาทำงานจากผ่าน CV ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับทักษะหรือรางวัลที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่เคยได้รับ รูปแบบ และคีย์เวิร์ดที่สำคัญ เช่น ชื่อตำแหน่งงานที่ต้องการสมัคร เพื่อให้สังเกตเห็นได้ในทันทีว่า ต้องการสมัครงานในตำแหน่งใด ซึ่งข้อมูลควรถูกต้องและไม่มีคำที่สะกดผิด
ขนาดฟอนต์ประมาณ 10-12 เป็นฟอนต์ที่อ่านได้ง่าย
โดยฟอนต์ที่แนะนำสำหรับ CV ภาษาอังกฤษ ได้แก่ Calibri, Times New Roman, Cambria และ Arial และ ฟอนต์แนะนำสำหรับ CV ภาษาไทย ได้แก่ TH Sarabun New
รูปแบบของ CV
รูปแบบของ CV ที่ดีสามารถแบ่งออกได้เป็นทั้งหมด 3 แบบ ดังนี้
- รูปแบบตามลำดับเวลา เขียนเกี่ยวกับประสบการณ์ในการทำงานโดยเรียงตามลำดับเวลา เพื่อแสดงให้ผู้อ่านเห็นว่า ผู้สมัครมีทักษะและประสบการณ์การทำงานมาจากที่ไหนบ้างก่อนหลัง
- รูปแบบโชว์ทักษะส่วนตัว แสดงให้เห็นถึงทักษะและความรู้ที่ได้สั่งสมมาระหว่างเรียน เหมาะสำหรับนักศึกษาจบใหม่ยังไม่ค่อยมีประสบการณ์ในการทำงานมากนัก
- รูปแบบผสม พูดถึงทักษะและประสบการณ์ในการทำงานที่ได้สั่งสมมาตามลำดับเวลา เพื่อเน้นให้เห็นว่ามีผลการเรียนที่ดี และยังมีประสบการณ์ที่น่าสนใจอีกด้วย
หัวข้อเรื่องและข้อมูลการติดต่อ
ส่วนนี้คือส่วนแรกของ CV ควรประกอบไปด้วยชื่อ ตำแหน่งที่ต้องการสมัคร พร้อมข้อมูลสำหรับติดต่อ ซึ่งควรมีการบอกถึงตำแหน่งงานที่สมัครบน CV ในหัวข้อนี้ เพื่อที่จะให้ HR สามารถสังเกตเห็นได้ในทันทีเลยว่านี่คือ CV โปรแกรมเมอร์
โปรแกรมเมอร์
เลขที่ 42 ถนนนเรศ
แขวงสี่พระยา เขตบางรัก
กรุงเทพฯ 10500
063-557-2248
sbausi@gmail.com
Linkedin.com/in/sbausi
เลขที่ 42 ถนนนเรศ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
063-557-2248
sbausi4451@gmail.com
Facebook.com/sbausi
Line ID: 25786623
รูปภาพใน CV โปรแกรมเมอร์ควรเป็นรูปที่ผู้สมัครแต่งกายสุภาพ
โดยควรทางการมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะและวัฒนธรรมขององค์กรที่คุณต้องการร่วมงานด้วย
ข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์ใน CV โปรแกรมเมอร์
ใต้หัวข้อประสบการณ์ด้านการทำงาน จะประกอบไปด้วยชื่อบริษัท ตำแหน่งงาน ระยะเวลาทำงาน แล้วใช้เครื่องหมายนำสายตาเขียนเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบที่มีต่อตำแหน่งงานนั้น ๆ ออกมาเป็นข้อ ๆ
ตัวอย่างประสบการณ์ทำงานของโปรแกรมเมอร์
Program Pro
โปรแกรมเมอร์
สิงหาคม 2561 – สิงหาคม 2564
- สร้างเว็บไซต์สำหรับธุรกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โรงแรม ร้านอาหาร และคาเฟ่ เป็นต้น
- สร้างแอปพลิเคชันสำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น แอปพลิเคชันให้ข้อมูลด้านการแพทย์ แอปพลิเคชันสำหรับสอบถามเส้นทางการเดินทางในกรุงเทพ และแอปพลิเคชันสำหรับจองคิวในร้านอาหารและองค์กรต่าง ๆ เป็นต้อง
การศึกษา
ข้อมูลด้านการศึกษาจะเป็นข้อมูลชื่อมหาวิทยาลัย ระดับการศึกษา และระยะเวลาที่สำเร็จการศึกษา หากจบปริญญาโทด้านวิศวกรรมและมีผลงานวิจัยที่น่าสนใจ ก็ใส่ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อแสดงให้เห็นถึงทักษะเฉพาะของผู้สมัครงานเพิ่มเติมได้
ตัวอย่างการเขียนหัวข้อการศึกษาใน CV
ปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มีนาคม 2561
ทักษะสำหรับ CV โปรแกรมเมอร์
ทักษะที่สามารถนำมาใส่ใน CV โดยทั่วไปประกอบไปด้วยทักษะเฉพาะทางที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพ (hard skills) และทักษะในการเข้าสังคม (soft skills) ซึ่งสำหรับใครที่จบมาไม่ตรงสาย แต่เรียนรู้และมีประสบการณ์ในการเขียนโปรแกรมด้วยตัวเอง ก็สามารถแสดงถึงทักษะที่ตนเองมีได้ในหัวข้อนี้
ทักษะเฉพาะทาง
- การพัฒนาเว็บไซต์
- การแก้ไขข้อบกพร่องบนเว็บไซต์ (debugging)
- คณิตศาสตร์
- ทักษะด้านงานเทคนิค
- การบริหารและดูแลงาน
- การเรียนรู้ของเครื่องคอมพิวเตอร์ (machine learning)
- ทักษะด้านคอมพิวเตอร์
- PHP
- โครงสร้างข้อมูล
ทักษะการเข้าสังคม
- ใส่ใจในรายละเอียด
- แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
- มีความรอบคอบ
- มีภาวะของการเป็นผู้นำ
- จัดการเวลาได้ดี
- มีความน่าเชื่อถือ
- มีทักษะในการสื่อสาร
- เป็นผู้ฟังที่ดี
- สามารถทำงานในสภาวะที่กดดันได้
- ทำงานเป็นทีมได้ดี
ทักษะและผลงานโดยสรุป
สำหรับนักศึกษาที่เพิ่งจบใหม่ มักเขียนเป็นจุดมุ่งหมายในการทำงาน (Career Objective) แต่ถ้าเคยมีประสบการณ์การทำงานมาก่อน ก็จะเป็นสรุปเกี่ยวกับทักษะและงานผลงานประมาณ 4-5 บรรทัด เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของคุณ และความตั้งใจที่อยากจะเข้ามาร่วมงานกับบริษัทที่คุณกำลังสมัครงานด้วย
ส่วนเพิ่มเติม
ส่วนเพิ่มเติมได้จะช่วยแสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่ครอบคลุมมากขึ้น ได้แก่ ทักษะภาษา กิจกรรมที่เคยทำ และไปรษณียบัตรที่เคยได้รับ หากมีผลงานทางวิชาการที่เคยได้รับการตีพิมพ์ ก็สามารถเพิ่มหัวข้อ และแนบ Reference ให้สำหรับผู้พิจารณา CV เพิ่มเติมได้เช่นกัน
ภาษา
ภาษาเป็นทักษะที่มีความสำคัญสำหรับแทบทุกอาชีพ โดยเฉพาะถ้าองค์กรของคุณเป็นบริษัทจากต่างชาติ มีเพื่อนร่วมงานหรือลูกค้าเป็นชาวต่างชาติ ถ้าคุณมีคะแนนสอบวัดผลทางภาษา เช่น TOEFL หรือ IELTS สำหรับภาษาอังกฤษ หรือมีประสบการณ์อื่น ๆ เช่นเคยไปแลกเปลี่ยนที่ต่างประเทศ ก็สามารถอธิบายไว้ใน CV ได้เช่นกัน
เคล็ดลับในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ CV โปรแกรมเมอร์
- เลือกรูปแบบ CV ที่เหมาะสมสำหรับตำแหน่งงานโปรแกรมเมอร์ที่คุณต้องการสมัคร ซึ่งหากเป็นงานด้านวิชาชีพที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ รูปแบบ CV ก็ควรเป็นแบบทางการเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ผู้อ่านสามารถดูรูปแบบ CV ที่น่าสนใจได้ที่ตัวอย่างรูปแบบ CV
- หากคุณมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสายงานที่ต้องการสมัคร ก็ให้เน้นเกี่ยวกับประสบการณ์เหล่านั้น เพื่อแสดงให้ผู้ที่พิจารณา CV เห็นว่าคุณมีความเหมาะสมกับตำแหน่งงานนั้นจริง ๆ แต่ถ้าคุณยังไม่มีประสบการณ์มากนัก ก็ให้เน้นเขียนเกี่ยวกับการศึกษาที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งทักษะที่มีที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานนั้นแทน
- ปรับ CV ให้เหมาะสำหรับตำแหน่งงานและบริษัทที่ต้องการร่วมงานด้วย ไม่ใช้ CV เดียวสำหรับการสมัครงานทั้งหมด เพราะไม่มีความเฉพาะเจาะจงหรือน่าสนใจมากพอ เนื่องจากไม่ได้ทำขึ้นมาเพื่องานนั้น ๆ จริง ๆ และผู้อ่านสามารถรับรู้ได้
- ก่อนจะส่ง CV ให้อ่านทบทวนอีกครั้งให้ดีก่อนส่ง เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลทั้งหมดถูกต้อง ครบถ้วน และไม่มีคำสะกดผิด
สรุปประเด็นสำคัญในการเขียน CV
- CV ควรประกอบไปด้วยข้อมูลประวัติส่วนตัว, ตำแหน่งงานที่ต้องการสมัคร, ข้อมูลติดต่อ, สรุปทักษะและผลงานในการทำงาน (professional summary), ประสบการณ์การทำงาน, การศึกษา, ทักษะ และส่วนเพิ่มเติมอื่น ๆ
- สรุปทักษะและผลงาน เป็นการกล่าวถึงทักษะและผลงานที่คุณเคยทำไว้โดยสรุป เป็นส่วนที่จะดึงดูดให้ผู้พิจารณา CV อ่าน CV ของคุณได้ตั้งแต่ต้นจนจบ หากคุณสรุปให้เห็นถึงทักษะและความสามารถที่เป็นประโยชน์สำหรับบริษัทได้จริง ๆ
- ประสบการณ์ด้านการทำงานเป็นส่วนที่สำคัญมากสำหรับ CV นอกจากที่จะต้องพูดถึงชื่อบริษัท ตำแหน่ง และระยะเวลาในการทำงานแล้ว ยังจะต้องพูดถึงหน้าที่การทำงานอย่างน้อย 3 ข้อ เพื่อแสดงให้เห็นถึงทักษะด้านการทำงานของคุณได้อย่างชัดเจน
- ข้อมูลด้านการศึกษาให้ใส่ทั้งหมด ทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท (ถ้ามี)
- ควรเขียนถึงทักษะสำหรับการทำงาน (hard skill) และทักษะการเข้าสังคม (soft skill) ที่คุณมีด้วย
- ใส่ส่วนเพิ่มเติมอื่น ๆ เพื่อให้ CV ของคุณโดดเด่นจากผู้สมัครรายอื่น ๆ เช่น ทักษะด้านภาษา ใบประกาศนียบัตรที่ได้รับ และผลงานวิชาการที่เคยได้รับการตีพิมพ์ เป็นต้น
เขียนเรซูเม่ที่เหมาะกับ Cover letter ของคุณ
นอกจากการเขียน CV แล้ว ก็มีเรซูเม่ที่เป็นอีกหนึ่งเอกสารสำหรับใช้สมัครงานเหมือนกัน โดยเรซูเม่จะมีข้อมูลด้านการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และความสามารถโดยสังเขป ความยาวประมาณ 1-2 หน้า ส่วน CV มีความยาวมากกว่า ประมาณ 2-20 หน้า เนื่องจากมีข้อมูลเชิงลึกที่มากกว่า
เช่น ทักษะ ประสบการณ์การทำงานโดยละเอียด การศึกษา ส่วนเพิ่มเติม เช่น งานวิชาการที่เคยได้รับการตีพิมพ์ลงวารสารวิชาการ เป็นต้น เพราะ CV มักถูกนำไปใช้ในการสมัครงานในตำแหน่งเชิงวิชาการหรือเป็นนักวิจัย ส่วนเรซูเม่สำหรับใช้ในการสมัครฝึกงานหรือทำงานกับบริษัทโดยทั่วไป ซึ่งคุณสามารถดูตัวอย่างเรซูเม่ ที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ตามลิงก์ที่แนบนี้
คำถามที่พบบ่อย
คีย์เวิร์ดที่สำคัญสำหรับ CV โปรแกรมเมอร์มีอะไรบ้าง?
คีย์เวิร์ดดังต่อไปนี้จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้พิจารณา CV สามารถเห็นถึงทักษะการทำงานบน CV ของคุณได้ง่ายขึ้น ได้แก่ ประสบการณ์ในการทำงาน (Experience), ทักษะในการทำงาน (Skills), การศึกษา (Education) โปรเจกต์ (Projects), ผลงาน (Achievements), ภาษา (Languages), ใบรับรอง, ใบประกาศนียบัตร (Certifications) Java, Python, C, C++, วิทยาศาสตร์ข้อมูล, AI และ การเรียนรู้ของเครื่องคอมพิวเตอร์ (Machine Learning) เป็นต้น