หลังจากเรียนจบมหาวิทยาลัย ก็ถึงเวลาแล้วที่เหล่านักศึกษาจบใหม่ต้องเตรียมเขียน CV นักศึกษาจบใหม่เพื่อยื่นเข้าทำงานในที่ทำงานที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นสำหรับการขอฝึกงาน หรือทำงานก็ตาม โดยจากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เกี่ยวกับผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรในไตรมาส 3 ปีของพ.ศ. 2564 พบว่า ในไทยมีผู้ที่ว่างงานมากถึง 8.71 แสนคน โดยผู้ที่สําเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีคือผู้ที่ว่างงานมากที่สุด รวมแล้วจำนวน 2.30 แสนคน
ท่ามกลางสถิติของนักเรียนจบใหม่มากมายที่ยังว่างงาน ประกอบกับงานที่มีการรองรับจำกัด เนื่องจากเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่จากการระบาดของโควิด 19 การเขียน CV นักศึกษาจบใหม่ ให้น่าสนใจจึงสำคัญอย่างมาก และในบทความนี้จะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยในการเขียน CV นักศึกษาจบใหม่ ให้กับคุณ
ตัวอย่าง CV นักศึกษาจบใหม่
พนักงานฝ่ายการตลาด
423
สามแยกกล้วยน้ำไท
แขวงคลองเตย เขตคลองเตย
กรุงเทพฯ 10110
089-144-5578
lsuchanun@gmail.com
Linkedin.com/in/lsuchanun
จุดมุ่งหมายในการทำงาน
ต้องการนำความรู้ที่ได้จากการศึกษา 4 ปีในสาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับ 1 พร้อมประสบการณ์การฝึกงานที่ DD Agency มาสร้างประโยชน์และคุณค่าให้กับ Peace tea house ในตำแหน่งพนักงานฝ่ายการตลาด เพื่อเปิดโอกาสให้ตัวเองได้ทำงานกับบริษัทที่ชื่นชอบ และเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการตลาดบนโลกดิจิทัล และสั่งสมประสบการณ์เพื่อเติบโตไปพร้อมกับองค์กร
ประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)
บริษัทแปลภาษา DD Agency
นักศึกษาฝึกงานด้านการตลาดออนไลน์
สิงหาคม – ตุลาคม 2564
- ช่วยทีมจัดทำ Google Ad Campaign พร้อมทั้งดูแลตลอดโปรเจกต์ให้กับบริษัทชั้นนำในไทยกว่า 20 แห่ง
- ดูแลโซเชียลมีเดียเพื่อโปรโมทสินค้าและบริการให้กับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น เฟสบุ๊ค อินสตาแกรม ยูทูป และติ๊กตอก เป็นต้น
- ติดตามผลพร้อมทำรายงานสำหรับความคืบหน้าของการโปรโมทสำหรับแต่ละโปรเจ็ค พร้อมปรับปรุงและพัฒนาให้ได้ผลลัพธ์ออกมาดีขึ้น
การศึกษา
ปริญญาตรี สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มีนาคม 2564
กิจกรรมอื่น ๆ เพิ่มเติม
เข้าร่วมโครงการ Work and Travel ในประเทศสหรัฐอเมริกา
สมาชิกชมรมอาสาของมหาวิทยาลัย
ใบประกาศนียบัตร
TOEIC 650 คะแนน
เกียรตินิยมอันดับ 1
วิธีการเขียน CV นักศึกษาจบใหม่
CV ที่ดีควรมีการจัดโครงสร้างไว้อย่างดี มีการแสดงข้อมูลที่ครบครัน พร้อมทั้งสามารถแสดงให้คุณเห็นถึงศักยภาพในตัวคุณและสร้างความประทับใจแรกให้กับ HR และให้พวกเขาสนใจที่จะทำความรู้จักกับคุณมากขึ้นให้ได้
สำหรับโครงสร้างของ CV นักศึกษาจบใหม่โดยทั่วไปควรประกอบไปด้วยข้อมูลต่อไปนี้:
- ประวัติส่วนตัวและข้อมูลสำหรับติดต่อ
- ตำแหน่งที่ต้องการสมัครงาน
- จุดมุ่งหมายในการทำงาน (Career objectives)
- ประสบการณ์การทำงานหรือประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
- การศึกษา
- ทักษะ
- ส่วนเพิ่มเติมอื่น ๆ (เช่น ภาษา, ใบประกาศนียบัตร, รางวัลที่ได้รับ และความสนใจส่วนตัวอื่น ๆ เป็นต้น)
วิธีทำให้ CV ของคุณแตกต่างและน่าสนใจมากกว่า CV ของคนอื่น ได้แก่:
- หลายคนชอบใช้ CV เพื่อสมัครหลาย ๆ งานทีเดียว แต่นั่นเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง แล้วปรับเปลี่ยนให้เหมาะสำหรับตำแหน่งงานและแต่ละองค์กรให้ได้มากที่สุด ทั้งในเรื่องของรูปแบบและเนื้อหา และสิ่งนี้จะเพิ่มโอกาสให้คุณได้รับเข้าทำงานได้มากกว่า
- การเขียน CV ที่ดีที่สุดก็คือการเขียนด้วยข้อมูลตามความเป็นจริงและยังเขียนให้ตอบโจทย์ไปกับคุณสมบัติที่องค์กรต้องการในตัวพนักงานในตำแหน่งนั้น ๆ ให้ได้มากที่สุดด้วย
- จัดโครงสร้างเรซูเม่ให้อ่านง่าย รูปแบบน่าอ่าน และไม่ใส่ข้อมูลเต็มจนล้นมากเกินไป
- แม้คุณจะยังไม่ค่อยมีประสบการณ์ในการทำงานมากนัก ก็ยังสามารถบอกเล่าถึงประสบการณ์ที่สามารถเชื่อมโยงกับตำแหน่งงานที่คุณต้องการได้ เช่น เคยฝึกงานด้านนั้นมาก่อน
โครงสร้างของ CV นักศึกษาจบใหม่
นิตยสารธุรกิจออนไลน์ชื่อดัง Forbes ได้พูดถึงปัจจัยที่สำคัญในการพิจารณา CV ของ HR ไว้ว่า CV ควรมีการจัดทำที่ตอบโจทย์กับคุณสมบัติของพนักงานที่องค์กรตามหา ใช้ภาษาที่อ่านเข้าใจได้ง่าย ข้อมูลครบถ้วนตามที่องค์กรต้องการ มีการอธิบายถึงหน้าที่การทำงานของงานก่อนหน้า CV ไม่ควรมีความยาวจนเกินไป และข้อมูลต้องมีการอัปเดต มีการเล่าเรื่องที่น่าสนใจ ใช้ภาษาได้ดี และไม่มีคำสะกดผิดให้รบกวนใจ พร้อมทั้งเน้นถึงความสำเร็จด้านการทำงานที่เคยได้ทำมาด้วย
ข้อมูลใน CV ควรใช้ขนาดฟอนต์ประมาณ 10-12 และควรเป็นฟอนต์ที่อ่านได้ง่าย
โดยฟอนต์ที่แนะนำสำหรับเรซูเม่ภาษาอังกฤษ ได้แก่ Calibri, Times New Roman, Cambria และ Arial และ ฟอนต์แนะนำสำหรับเรซูเม่ภาษาไทย ได้แก่ TH Sarabun New
รูปแบบของ CV นักศึกษาจบใหม่
รูปแบบของเรซูเม่ที่ดีที่สุดสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบด้วยกัน ได้แก่
- รูปแบบตามลำดับเวลา เล่าถึงประสบการณ์ไล่ตามลำดับเวลา เพื่อแยกออกมาให้ผู้อ่านได้เห็นอย่างชัดเจนเลยว่า คุณเคยมีประสบการณ์การทำงานอะไรบ้างในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา เหมาะสำหรับคนที่มีประสบการณ์ด้านการทำงานมาก่อนเท่านั้น
- รูปแบบโชว์ทักษะส่วนตัว ที่เน้นแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติที่เหมาะสมสำหรับตำแหน่งงานนั้น ๆ เนื่องจากส่วนใหญ่นักศึกษาจบใหม่ยังไม่ค่อยมีประสบการณ์การทำงานมาก่อน โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา วิชาที่เรียน และทักษะต่าง ๆ ที่ได้สั่งสมมาระหว่างเรียน
- รูปแบบผสม ทั้งโชว์ทักษะส่วนตัว และพูดถึงประสบการณ์การทำงานตามลำดับเวลาด้วย เพื่อแสดงให้ผู้อ่านได้เห็นว่าคุณมีทั้งผลการเรียนที่ดี มีประสบการณ์การทำงานมาก่อน และยังมีประสบการณ์อื่น ๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งทำให้คุณแตกต่างจากคนอื่น และเป็นบุคคลที่น่าดึงให้มาร่วมงานในองค์กรด้วยกันได้
หัวเรื่องและข้อมูลการติดต่อ
ตรวจสอบข้อมูลของหัวเรื่องและข้อมูลการติดต่อให้ดี เพื่อที่หาก HR สนใจคุณจะได้สามารถติดต่อเพื่อขอสัมภาษณ์เพิ่มเติมได้ในทันที โดยข้อมูลควรประกอบไปด้วย ชื่อ ตำแหน่งงานที่ต้องการสมัคร ข้อมูลสำหรับติดต่อ ลิงก์โปร์ไฟล์ LinkedIn หรือเว็บไซต์ส่วนตัวที่พูดถึงผลงานด้านการทำงานมาก่อน
พนักงานฝ่ายการตลาด
423
สามแยกกล้วยน้ำไท
แขวงคลองเตย เขตคลองเตย
กรุงเทพฯ 10110
089-144-5578
lsuchanun@gmail.com
Linkedin.com/in/lsuchanun
423
สามแยกกล้วยน้ำไท
แขวงคลองเตย เขตคลองเตย
กรุงเทพมหานคร 10110
วันเกิด 20 มีนาคม 2540
เบอร์โทร 089-144-5578
lsuchanun@gmail.com
Linkedin.com/in/lsuchanun
คุณอาจใส่รูปภาพใน CV หรือไม่ใส่ก็ได้ แต่ถ้าใส่ควรเป็นรูปที่แต่งกายสุภาพ และเหมาะสำหรับตำแหน่งงานที่ต้องการสมัคร อย่างงานด้านการตลาด อาจไม่ได้เคร่งครัดแบบใส่สูทจนเกินไป แต่ก็ควรแต่งกายเรียบร้อยและเห็นใบหน้าชัดเจน
ข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์ใน CV นักศึกษาจบใหม่
เมื่อมาถึงส่วนของประสบการณ์การทำงาน โดยทั่วไปจะเขียนเกี่ยวกับชื่อบริษัท ตำแหน่งงาน และระยะเวลาทำงาน รวมทั้งเขียนถึงหน้าที่รับผิดชอบที่ได้ทำด้วย โดยเขียนแยกออกมาเป็นข้อ ๆ ให้อ่านได้ง่าย สำหรับการหางาน นักศึกษาจบใหม่ ประสบการณ์อาจจะยังไม่มีมากนัก ทำให้อาจเขียนถึงประสบการณ์ฝึกงานแทน หรือถ้ายังไม่เคยฝึกงานมาก่อน ก็อาจจะเขียนถึงกิจกรรมที่ได้ทำในมหาวิทยาลัย งานพาร์ททาม หรือการเขียนที่ช่วยด้านการทำงานที่ตัวเองได้เรียนมา เป็นต้น
ตัวอย่างประสบการณ์ทำงานของนักศึกษาจบใหม่ที่ผ่านการฝึกงานมาแล้ว
นักศึกษาฝึกงานด้านการตลาดออนไลน์
สิงหาคม – ตุลาคม 2564
- ช่วยทีมจัดทำ Google Ad Campaign พร้อมทั้งดูแลตลอดโปรเจกต์ให้กับบริษัทชั้นนำในไทยกว่า 20 แห่ง
- ดูแลโซเชียลมีเดียเพื่อโปรโมทสินค้าและบริการให้กับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น เฟสบุ๊ค อินสตาแกรม ยูทูป และติ๊กตอก เป็นต้น
- ติดตามผลพร้อมทำรายงานสำหรับความคืบหน้าของการโปรโมทสำหรับแต่ละโปรเจ็ค พร้อมปรับปรุงและพัฒนาให้ได้ผลลัพธ์ออกมาดีขึ้น
ถ้าไม่มีประสบการณ์
หากยังไม่เคยมีประสบการณ์การทำงานมาก่อน นอกจากจะเขียนถึงงานพาร์ททาม คลาสเรียนทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย หรือพอร์ทแล้ว ก็ให้เน้นพูดถึงทักษะที่คุณมีที่ตอบโจทย์ต่อการทำงานในตำแหน่งของคุณได้ เช่น เรียนจบคอร์สการตลาดออนไลน์จาก Google เคยดูแลเพจเฟสบุ๊คให้กับบริษัทต่าง ๆ หรือเรียนจบคอร์ส E-learning ของสถาบันดังด้านการตลาด เป็นต้น
การศึกษา
ในข้อมูลด้านการศึกษาจะประกอบไปด้วยชื่อมหาวิทยาลัย ระดับการศึกษา และระยะเวลาที่สำเร็จการศึกษา และถ้าคุณได้เกรดค่อนข้างดี หรือได้รับเกียรตินิยม ก็ให้ใส่ข้อมูลเหล่านี้เพื่อแสดงให้ HR ได้เห็นศักยภาพด้านการศึกษาและเรียนรู้ที่คุณมีด้วย
ตัวอย่างการเขียนหัวข้อการศึกษาใน CV
ปริญญาตรี สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มีนาคม 2564
ทักษะสำหรับไว้ใส่ใน CV นักศึกษาจบใหม่
ใน CV คุณสามารถใส่ข้อมูลเกี่ยวกับทักษะเฉพาะทางที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพ (hard skills) รวมทั้งทักษะในการเข้าสังคม (soft skills) ที่คุณมี รวมทั้งตรงตามทักษะที่องค์กรเหล่านั้นกำลังตามหาได้ด้วย โดยสามารถดูตัวอย่างได้ที่ด้านล่างนี้
ทักษะเฉพาะทาง
- ทักษะในการค้นคว้า และวิเคราะห์ข้อมูล
- มีความคิดสร้างสรรค์
- มีทักษะด้านการสื่อสารที่ดี
- มีทักษะการเขียนที่ดี
- มีทักษะการใช้เครื่องมือทางการตลาดออนไลน์
- ทักษะด้านการบริหารจัดการงาน
- ทักษะการบริหารจัดการลูกค้า
- มีทักษะในการพูดโน้มน้าวผู้อื่นให้คล้อยตามได้
- แปลงข้อมูลเป็นภาพสวยงาม
- ติดตามกระแสสังคม
ทักษะการเข้าสังคม
- ทักษะด้านการปรับตัว
- การเรียนรู้สิ่งใหม่ได้อย่างรวดเร็ว
- ทักษะการทำงานเป็นทีม
- จัดการเวลาได้ดี
- ตรงต่อเวลา
- มนุษยสัมพันธ์ที่ดี
- มีภาวะความเป็นผู้นำ
- แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
การเขียนจุดมุ่งหมายในการทำงาน (Career Objective)
ในส่วนของจุดมุ่งหมายในการทำงานคือการเขียนอธิบายตัวเองโดยสรุป ซึ่งเป็นการพูดถึงคุณสมบัติด้านการศึกษา ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานที่ต้องการสมัคร รวมทั้งผลงานที่น่าสนใจแบบสรุปสั้น ๆ พร้อมเขียนให้เห็นว่าคุณต้องการทำงานร่วมกับองค์กรที่ต้องการจริง ๆ
ส่วนเพิ่มเติม
ส่วนเพิ่มเติมได้แก่ กิจกรรมที่เคยทำในรั้วมหาวิทยาลัย หรือประกาศนียบัตรที่คุณเคยได้รับ เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในตัวคุณ และยังทำให้คุณแตกต่างและโดดเด่นจากผู้สมัครรายอื่น ๆ ด้วย
ภาษา
ภาษาคือทักษะที่สำคัญสำหรับแทบทุกวิชาชีพ เพราะสามารถเพิ่มโอกาสในการทำงานของคุณได้มากขึ้น โดยเฉพาะการทำงานร่วมกับลูกค้าที่เป็นชาวต่างชาติ เพราะฉะนั้นถ้ามีคะแนนทดสอบภาษา ก็สามารถใส่เพื่อดึงดูด HR ให้มากขึ้นได้ เช่น TOEFL หรือ IELTS สำหรับภาษาอังกฤษ หรือ JLPT สำหรับภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น
เคล็ดลับสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ CV
CV ของคุณจะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นไปอีก หากทำตามเช็คลิสต์ต่อไปนี้:
- เลือกรูปแบบ CV ที่เหมาะสมกับงาน อย่างตำแหน่งงานที่ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ CV ก็ควรดึงดูด HR ด้วยรูปแบบและสีสีนที่น่าสนใจ แต่ถ้าเป็นงานที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและความน่าเชื่อถือ CV ของคุณก็ต้องแสดงให้เห็นว่าคุณมีความน่าเชื่อถือด้วยเช่นกัน
- เขียนตำแหน่งที่ต้องการสมัครไว้ในส่วนต้นของ CV รวมทั้งชื่อเรื่องอีเมลด้วย เพื่อให้ HR เห็นได้ในทันทีว่า คุณสมัครเข้ามาในตำแหน่งใด
- อ่านทวน CV หลาย ๆ รอบก่อนส่ง เพื่อตรวจสอบว่าข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วน และไม่มีคำที่สะกดผิด
สรุปประเด็นสำคัญในการเขียน CV นักศึกษาจบใหม่
- เรซูเม่ควรประกอบไปด้วยข้อมูลประวัติส่วนตัวและข้อมูลสำหรับติดต่อ, ตำแหน่งที่ต้องการสมัครงาน, จุดมุ่งหมายในการทำงาน (Career objectives), ประสบการณ์ในการทำงานหรือประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ, การศึกษา, ทักษะ และส่วนเพิ่มเติมอื่น ๆ
- ใส่จุดมุ่งหมายในการทำงาน โดยเป็นการแนะนำตัวโดยสรุปว่าคุณจบการศึกษามาจากที่ไหน มีประสบการณ์และทักษะอะไรที่เหมาะสมสำหรับการทำงานในตำแหน่งงานที่คุณสมัครบ้าง
- ใส่ประสบการณ์ในการทำงาน หากคุณเคยผ่านการฝึกงาน แต่ถ้าไม่มีประสบการณ์ให้เน้นเขียนถึงประสบการณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจากกิจกรรมที่คุณเคยทำในระหว่างเรียน หรือทักษะในการทำงานที่คุณมีแทน
- ใส่ข้อมูลด้านการศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท (ถ้ามี) และละในส่วนของระดับอุดมศึกษาไว้ หรือจะเน้นแค่การศึกษาในระดับปริญญาตรีก็ได้ เพื่อไม่ให้เรซูเม่เต็มไปด้วยข้อมูลที่ไม่จำเป็นมากจนเกินไป
- ใส่ทักษะสำหรับการทำงาน (hard skill) และการเข้าสังคม (soft skill) ที่คุณมี
- ใส่ส่วนเพิ่มเติมอื่น ๆ เพื่อให้เรซูเม่ของคุณมีความโดดเด่นจากเรซูเม่ของผู้สมัครรายอื่น ๆ เช่น ภาษา และกิจกรรมอื่น ๆ เป็นต้น
เขียนเรซูเม่ที่เหมาะกับ Cover letter ของคุณ
การจัดทำ CV หรือเรซูแม่นั้น ขึ้นอยู่กับองค์กรที่คูณต้องการสมัคร โดยความแตกต่างก็คือ เรซูเม่พูดถึงการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และความสามารถโดยสังเขป ทั้งหมดประมาณ 1-2 หน้า ในขณะที่ CV มีความยาวได้มากถึง 2-20 หน้า โดยเป็นข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติ ประสบการณ์ ทักษะ ความสามารถ และความสำเร็จที่ลงรายละเอียดมากกว่า
เรซูเม่มักถูกนำไปใช้ในการสมัครเพื่อขอฝึกงานหรือทำงานกับบริษัทโดยทั่วไป ในขณะที่ CV มักถูกนำไปใช้ในการสมัครงานในตำแหน่งเชิงวิชาการหรือเป็นนักวิจัยมากกว่า ซึ่งจะเน้นไปที่ทักษะเฉพาะสำหรับตำแหน่งงานเชิงวิชาการหรือต้องการความเชี่ยวชาญพิเศษ ซึ่งคุณสามารถดูตัวอย่างเรซูเม่ ที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ แต่ถ้างานที่คุณต้องการสมัครต้องการรายละเอียดที่มากกว่า ก็สามารถเขียน Cover letter เตรียมไว้สำหรับยื่น ซึ่งคุณสามารถดูตัวอย่าง Cover letter ได้ที่นี่เลย!