มีหลายสาขาวิชาในรั้วมหาวิทยาลัยที่ต้องการให้นักศึกษาได้ฝึกงานก่อนเรียนจบ เพื่อเตรียมตัวสู่โลกการทำงานจริง หรือบางสาขาวิชาเมื่อจบออกมาแล้ว ก็ต้องเริ่มเก็บประสบการณ์ในฐานะนักศึกษาฝึกงานก่อนเพื่อเก็บประสบการณ์ ก่อนที่จะเริ่มงานในสาขางานนั้น ๆ ได้อย่างเต็มตัว การฝึกงานอาจมีทั้งที่ได้รับค่าตอบแทน หรือไม่ได้รับค่าตอบแทน แล้วแต่ข้อเสนอของแต่ละบริษัท ซึ่งการฝึกงานที่มีค่าตอบแทนด้วยย่อมน่าสนใจและเป็นที่ต้องการสำหรับเด็กจบใหม่มากกว่า
ทำให้การเขียน CV นักศึกษาฝึกงานที่น่าสนใจและมีคุณภาพเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากสำหรับนักศึกษา และนักเรียนจบใหม่ทั้งหลาย เพื่อให้ประวัติของตนได้ถูกหยิบขึ้นไปอ่าน เป็นการเปิดประตูไปสู่โอกาสการทำงานที่ตนเองต้องการทำได้จริง ๆ และในบทความนี้ เราจะไปสำรวจพร้อม ๆ กันว่า ใน CV นักศึกษาฝึกงานหนึ่งใบ ควรประกอบไปด้วยข้อมูลอะไรบ้าง และควรเขียนออกมาในลักษณะไหน
ตัวอย่าง CV นักศึกษาฝึกงาน
มิลลิ ภักดีจิต
นักศึกษาฝึกงาน – นักเขียน
267/52
ซอยสวัสดี เขตวัฒนา
แขวงคลองตันเหนือ 12310
086-132-2251
pmilli@gmail.com
Linkedin.com/in/pmilli
จุดมุ่งหมายในการทำงาน
ชื่นชอบในการติดตามข่าวสาร อ่านหนังสือ นิตยสาร และการเล่าเรื่องผ่านภาษาของตนเอง วิชาที่ชอบคือวิชาการเขียนและการทำนิตยสาร ต้องการนำความรู้ที่ได้จากการศึกษา 4 ปีในสาขาวิชาวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีเกียรตินิยมอันดับ 1 เป็นเครื่องการันตี มาสร้างผลงานให้กับแพลตฟอร์มนำเสนอข่าวออนไลน์ Mango Magazine ในตำแหน่งนักเขียน เพื่อเปิดโอกาสให้ตัวเองได้ทำงานในสิ่งที่รัก เรียนรู้ และสั่งสมประสบการณ์เพื่อเติบโตไปพร้อมกับองค์กร
ประสบการณ์ในการทำงาน
Precious Plastic Bangkok
แอดมินเพจเฟสบุ๊ค
สิงหาคม – ตุลาคม 2564
- คิดค้นคอนเทนต์สำหรับนำเสนอในเพจเฟสบุ๊คของ Precious Plastic Bangkok
- โพสคอนเทนต์ต่าง ๆ ลงในเพจ
- คอยตอบคำถามลูกค้าและติดต่อประสานงานเกี่ยวกับการออกบูธงานอีเวนต์หรือขายสินค้าให้กับเพจ
การศึกษา
ปริญญาตรี คณะวารสารศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มีนาคม 2564
กิจกรรมอื่น ๆ เพิ่มเติม
สมาชิกชมรมนิตยสารของมหาวิทยาลัย
ดูแลเพจเฟสบุ๊คให้กับ Precious Plastic Bangkok
เข้าร่วมโครงการ Work and Travel ในประเทศสหรัฐอเมริกา
ใบประกาศนียบัตร
TOEIC 640 คะแนน
เกียรตินิยมอันดับ 1
วิธีการเขียน CV นักศึกษาฝึกงาน
วิธีการเขียน CV ที่ดีคือการเรียบเรียงเนื้อให้ครบถ้วน กระชับ และน่าอ่าน พร้อมทั้งนำเสนอออกมาในรูปแบบที่มีการเรียงลำดับอย่างเหมาะสมด้วย ตามตัวอย่างโครงสร้าง CV ทั่วไป ด้านล่างนี้:
- ประวัติส่วนตัวและข้อมูลสำหรับติดต่อ
- ตำแหน่งที่ต้องการสมัครงาน
- จุดมุ่งหมายในการทำงาน (Career objectives)
- ประสบการณ์การทำงานหรือประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
- การศึกษา
- ทักษะ
- ส่วนเพิ่มเติมอื่น ๆ (เช่น ภาษา, ใบประกาศนียบัตร, รางวัลที่ได้รับ และความสนใจส่วนตัวอื่น ๆ เป็นต้น)
เช็คลิสต์สำหรับการเขียน CV นักศึกษาฝึกงานให้น่าสนใจและโดดเด่น ประกอบไปด้วย:
- ในฐานะที่ยังเป็นนักศึกษาอยู่ หรือเป็นนักศึกษาที่เพิ่งเรียนจบใหม่ ๆ ทำให้ยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำงานมากนัก อย่างไรก็ตาม ยังสามารถนำเสนอเกี่ยวกับสาขาที่เรียน รายวิชาที่ชอบที่เกี่ยวกับตำแหน่งที่ต้องการสมัคร งานอดิเรก ผลงานที่ผ่านมา และตัวอย่างผลงานได้
- ห้ามใส่ CV เดียวสำหรับสมัครงานหลาย ๆ ที่ เพราะทำให้ CV นั้นไม่มีข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงสำหรับแต่ละงานมากพอ และยังแสดงให้เห็นถึงความไม่ใส่ใจและมักง่ายด้วย
- อ่านเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัครที่มีประกาศไว้อย่างละเอียด พร้อมเขียนเพื่อชูจุดที่คุณมีตรงตามคุณสมบัตินั้น ๆ เช่น ทักษะบางประการ เป็นต้น
โครงสร้างของ CV นักศึกษาฝึกงาน
จากข้อมูลของ HR Online UK สิ่งที่ HR ให้ความสำคัญเวลาพิจารณา CV ก็คือ CV ที่มีความสวยงามและอ่านง่าย ใส่ข้อมูลสำหรับติดต่อที่ถูกต้อง อธิบายให้ HR เห็นว่าคุณเหมาะสมสำหรับตำแหน่งงานนั้นอย่างไรบ้าง โดยใช้ข้อมูลเป็นตัวพิสูจน์ ใส่รายการทักษะสำคัญที่คุณมี ใส่ผลงานหรือรางวัลที่คุณเคยได้รับ และตรวจสอบให้แน่ใจว่าเนื้อหาทุกอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และไม่มีคำที่สะกดผิดเด็ดขาด
โดยข้อมูลดังกล่าว ควรจัดไว้ให้อยู่ในหน้าเดียวกัน ขนาดฟอนต์พื้นฐานคือ 10-12 โดยฟอนต์ที่อ่านง่ายและเหมาะสำหรับนำมาเขียน CV ภาษาอังกฤษ คือ Calibri, Times New Roman, Cambria และ Arial ส่วนสำหรับ CV ภาษาไทย คือ TH Sarabun New
รูปแบบของ CV นักศึกษาฝึกงาน
รูปแบบของ CV โดยทั่วไป สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ ได้แก่
- รูปแบบตามลำดับเวลา เป็นการเขียนถึงประสบการณ์การทำงานไล่เรียงตามลำดับเวลา ว่าเคยมีประสบการณ์การอะไรบ้าง สำหรับคนที่เคยมีประสบการณ์การทำงานมาก่อน
- รูปแบบที่โชว์ทักษะ เป็นส่วนที่กล่าวถึงทักษะในการทำงานและการเข้าสังคม รวมทั้งการศึกษา และทักษะที่ได้จากวิชาที่เรียน
- รูปแบบผสม เป็นรูปแบบที่พูดถึงทั้งประสบการณ์ในการทำงานและทักษะส่วนตัวที่มี เพื่อเน้นทั้งสองด้าน เหมาะสำหรับคนที่มีประสบการณ์การทำงานมาก่อน และยังมีวิชาที่เรียน หรือประสบการณ์ในระหว่างเรียนที่เกี่ยวกับตำแหน่งงานที่ต้องการสมัครด้วย
หัวเรื่องและข้อมูลสำหรับการติดต่อ
หัวเรื่องคือส่วนเริ่มต้นของ CV หรือเรซูเม่ ที่มักเริ่มจากชื่อ นามสกุลของผู้สมัคร ตามด้วยตำแหน่งงาน เพื่อให้ HR สามารถมองเห็นได้ง่าย และรู้ได้ในทันทีเลยว่าคุณเขียน CV นี้มาเพื่อสมัครงานในตำแหน่งใด ตามด้วยข้อมูลส่วนตัว อย่างอีเมล เบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น
หัวเรื่องที่ดี
มิลลิ ภักดีจิต
นักศึกษาฝึกงาน – นักเขียน
267/52
ซอยสวัสดี เขตวัฒนา
แขวงคลองตันเหนือ 12310
086-132-2251
pmilli@gmail.com
Linkedin.com/in/pmilli
หัวเรื่องที่ไม่ดี
มิลลิ ภักดีจิต
267/52
ซอยสวัสดี เขตวัฒนา
แขวงคลองตันเหนือ 12310
086-132-2251
milli2211@gmail.com
Facebook.com/in/milli3312
📌 คำแนะนำ: หัวเรื่องที่ดีควรมีข้อมูลครบถ้วน เป็นข้อมูลที่สำคัญจริง ๆ เท่านั้น และควรเว้นวรรคเพื่อให้อ่านได้ง่ายมากขึ้น อีเมลที่ใช้สมัครงานควรเป็นอีเมลแบบทางการ และไม่ควรใส่ช่องทางโซเชียลมีเดียของตัวเองไว้ใน CV ถ้าไม่จำเป็น
คุณอาจใส่หรือไม่ใส่รูปภาพลงบน CV ของคุณก็ได้ แต่หากต้องการใส่รูปภาพ ไม่ควรเป็นรูปในชุดนักศึกษาเพื่อให้ดูเป็นมืออาชีพ เลือกใช้รูปภาพที่สุภาพ โดยอาจจะเป็นทางการมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับตำแหน่งงานที่สมัคร
ข้อมูลประสบการณ์ใน CV ของนักศึกษาฝึกงาน
ภายใต้หัวข้อประสบการณ์การทำงาน มักจะเขียนถึงชื่อของบริษัท ตำแหน่งงาน และระยะเวลาทำงาน จากนั้นก็เขียนถึงหน้าที่และความรับผิดชอบที่มีต่อตำแหน่งงานนั้น ๆ เรียงเป็นข้อ ๆ
ตัวอย่างประสบการณ์ทำงานสำหรับนักศึกษาฝึกงานที่เคยทำงานพาร์ททามมาก่อน
Precious Plastic Bangkok
แอดมินเพจเฟสบุ๊ค
สิงหาคม – ตุลาคม 2564
- คิดค้นคอนเทนต์สำหรับนำเสนอในเพจเฟสบุ็คของ Precious Plastic Bangkok
- โพสคอนเทนต์ต่าง ๆ ลงในเพจ
- คอยตอบคำถามลูกค้าและติดต่อประสานงานเกี่ยวกับการออกบูธงานอีเวนต์หรือขายสินค้าให้กับเพจ
ถ้าไม่มีประสบการณ์
หากคุณไม่เคยมีประสบการณ์ด้านการทำงานพาร์ททามหรือฝึกงานที่ไหนมาก่อนก่อนหน้า ให้เน้นพูดถึงทักษะในการทำงานและเข้าสังคมที่เป็นจุดแข็งของคุณ การศึกษา วิชาที่เรียน รวมทั้งกิจกรรมต่าง ๆ ที่เคยเข้าร่วมในขณะที่เรียนอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย หรืออาจเล่าว่ากิจกรรมนั้นได้จุดประกายและกลายเป็นสิ่งที่คุณหลงใหลและต้องการทำเป็นอาชีพได้อย่างไรบ้างด้วย
การศึกษา
ส่วนในหัวข้อการศึกษา ให้เริ่มจากชื่อมหาวิทยาลัย ระดับการศึกษา และระยะเวลาที่สำเร็จการศึกษา และหากคุณเรียนจบมาด้วยเกรดที่ค่อนข้างดีหรือได้รับคะแนนเกียรตินิยมด้วยล่ะก็ สามารถเขียนลงไปใน CV เพื่อดึงดูด HR ได้มากขึ้นด้วย
ตัวอย่างการเขียนเกี่ยวกับการศึกษา
การศึกษา
ปริญญาตรี คณะวารสารศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มีนาคม 2564
ทักษะสำหรับ CV นักศึกษาฝึกงาน
ทักษะที่ใส่ไว้ใน CV โดยทั่วไป ประกอบไปด้วยสองส่วนหลักด้วยกัน ได้แก่ ทักษะเฉพาะทางที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพ (hard skills) และทักษะในการเข้าสังคม (soft skills) เพื่อเป็นการอธิบายเพิ่มเติม และทำให้ HR ทำความรู้จักกับคุณได้มากขึ้น มาดูไปพร้อม ๆ กันว่ามีทักษะอะไรบ้างที่คุณสามารถนำไปใช้ใส่ไว้ใน CV นักศึกษาจบใหม่ได้บ้าง
ทักษะเฉพาะทาง
- ทักษะด้านการเขียนคอนเทนต์ออนไลน์
- ทักษะในการเขียนบทความ SEO
- ทักษะในการแปลภาษาอังกฤษ – ไทย
- ทักษะในการใช้เครื่องมือในการเขียน / แปล
- ทักษะในการพิสูจน์อักษร
- ทักษะในการอ่าน
- ทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูล
- ทักษะในการใช้ Backend ของเว็บไซต์
ทักษะการเข้าสังคม
- พร้อมที่จะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
- ตรงต่อเวลา
- มีทักษะในการเป็นผู้นำ
- ใส่ใจรายละเอียด
- จัดการเวลาได้ดี
- มีความคิดสร้างสรรค์
- มีความรับผิดชอบสูง
- วางแผนและจัดการงานที่ได้รับมอบหมายได้ดี
จุดมุ่งหมายในการทำงาน
เป็นส่วนที่เป็นการแนะนำตัวเองโดยสรุป ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญอย่างมากใน CV ของคุณ เพราะเป็นส่วนแรก ๆ ที่ HR จะได้อ่านจากหน้า CV นักศึกษาฝึกงานของคุณ เพื่อทำความรู้จักกับคุณให้มากขึ้น และเพื่อดูว่าคุณจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรู้ความสามารถที่คุณมีได้อย่างไรบ้าง
ตัวอย่างที่ถูกต้อง
ชื่นชอบในการติดตามข่าวสาร อ่านหนังสือ นิตยสาร และการเล่าเรื่องผ่านภาษาของตนเอง วิชาที่ชอบคือวิชาการเขียนและการทำนิตยสาร ต้องการนำความรู้ที่ได้จากการศึกษา 4 ปีในสาขาวิชาวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีเกียรตินิยมอันดับ 1 เป็นเครื่องการันตี มาสร้างผลงานให้กับแพลตฟอร์มนำเสนอข่าวออนไลน์ Mango Magazine ในตำแหน่งนักเขียน เพื่อเปิดโอกาสให้ตัวเองได้ทำงานในสิ่งที่รัก เรียนรู้ และสั่งสมประสบการณ์เพื่อเติบโตไปพร้อมกับองค์กร
💡ตัวอย่างด้านบนได้พูดถึงสิ่งที่คุณชอบว่ามีความเกี่ยวเนื่องกับลักษณะของงานที่คุณต้องการทำอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งกล่าวถึงการศึกษา สาขาที่เรียน และวิชาที่เกี่ยวข้องกับตัวงานที่คุณสมัครอีกเช่นกัน นอกไปจากนั้นแล้ว ยังแสดงให้เห็นด้วยความคุณมีความต้องการที่จะร่วมงานและสร้างประโยชน์ให้กับบริษัทอย่างแท้จริง
ตัวอย่างที่ไม่ถูกต้อง
ต้องการสมัครเป็นนักเขียน เนื่องจากชอบเขียนหนังสือ อยากมีหนังสือเป็นของตัวเอง ทำให้อยากเป็นนักศึกษาที่บริษัทของคุณ เพื่อสะสมประสบการณ์
💡 ตัวอย่างด้านบนสั้นเกินไป ควรใส่ข้อมูลอย่างน้อยประมาณ 4-5 บรรทัด และพูดถึงประสบการณ์ในการทำงานถ้ามี หรือทักษะที่เหมาะสมที่คุณมี เพื่อแสดงให้เห็นว่าทำไมพวกเขาถึงควรเลือกคุณ เพราะความชอบเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ
ส่วนเพิ่มเติม
ส่วนเพิ่มเติมเป็นส่วนที่คุณสามารถพูดถึงกิจกรรมอื่น ๆ ที่คุณเคยได้ทำ เช่น รางวัลจากการประกวดหรือประกาศนียบัตรที่เคยได้รับ หรือคะแนนสอบด้านภาษา เป็นต้น
ภาษา
ภาษาคือทักษะที่สำคัญสำหรับการทำงานในปัจจุบันในแทบทุกสาขาอาชีพ และถ้าคุณมีทักษะด้านภาษา ก็สามารถนำมาใส่ไว้ใน CV นักศึกษาฝึกงานเพื่อเพิ่มโอกาสให้ถูกเลือกเข้าทำงานได้มากขึ้น เช่น TOEFL หรือ IELTS สำหรับภาษาอังกฤษ เป็นต้น
เคล็ดลับในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ CV
หลังจากที่คุณได้รวบรวมข้อมูลสำหรับเรียบเรียงใน CV ตามขั้นตอนในข้างต้นแล้ว ก็ยังมีเช็คลิสต์อีกเล็กน้อยที่คุณสามารถตรวจสอบอีกครั้ง แล้วนำไปปรับใช้เพื่อให้ CV ของคุณมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังรายการต่อไปนี้
- เลือกใช้รูปแบบ CV ให้เหมาะสมสำหรับตำแหน่งงานที่คุณต้องการสมัคร ตัวอย่างเช่น CV นักศึกษาฝึกงานด้านงานเขียน สามารถใช้รูปแบบในเชิงความคิดสร้างสรรค์ มากกว่า CV นักศึกษาฝึกงานด้านบัญชี เป็นต้น
- CV นักศึกษาจบใหม่อาจไม่ได้มีประสบการณ์ด้านการทำงานให้เขียนถึง แต่สามารถเขียนถึงประสบการณ์จากงานพาร์ททาม และเน้นเกี่ยวกับกิจกรรมอื่น ๆ ที่เคยทำ เช่น รางวัลที่ได้รับ เป็นต้น
- ห้ามลืมใส่ตำแหน่งที่ต้องการสมัครงานเด็ดขาด HR หรือผู้พิจารณา CV ของคุณจะได้หาเจอได้ง่าย ๆ
สรุปประเด็นสำคัญในการเขียน CV นักศึกษาจบใหม่
- CV โดยทั่วไปจะมีประวัติส่วนตัว ข้อมูลสำหรับติดต่อ, ตำแหน่งที่ต้องการสมัคร, จุดมุ่งหมายในการทำงาน (Career objectives), ประสบการณ์การทำงาน รวมทั้งประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ทักษะ และส่วนเพิ่มเติมอื่น ๆ
- จุดมุ่งหมายในการทำงาน คือการแนะนำตัวโดยสรุปอย่างหนึ่ง และเป็นการแสดงให้เห็นว่า คุณมีทักษะ ประสบการณ์ ความชอบ ที่จะสามารถสร้างประโยชน์ให้กับองค์กรได้อย่างไรบ้าง
- หากยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำงานมาก่อน อาจเขียนเกี่ยวกับงานพาร์ททาม หรือเน้นที่กิจกรรมที่เคยทำสมัยเรียนแทน
- ใส่ข้อมูลด้านการศึกษา พร้อมทั้งคะแนนหากเป็นที่น่าพึงพอใจ
- ใส่ส่วนเพิ่มเติมอื่น ๆ เพื่อให้ CV ของคุณโดดเด่นขึ้นมา เช่น ผลทดสอบด้านภาษา เป็นต้น
เขียนเรซูเม่ที่เหมาะกับ Cover letter ของคุณ
เรซูเมมักจะประกอบไปด้วยข้อมูล 1-2 หน้า ส่วน CV สามารถมีความยาวถึง 2-20 หน้า โดยประกอบด้วย ประสบการณ์ ทักษะ ความสามารถ รางวัลที่เคยได้รับ หรือผลงานเชิงวิชาการที่เคยได้รับการตีพิมพ์ เป็นต้น โดย
เรซูเม่มักถูกนำไปใช้ในการสมัครทำงานกับบริษัทโดยทั่วไป ในขณะที่ CV มักถูกนำไปใช้ในการสมัครงานในตำแหน่งเชิงวิชาการหรือเป็นนักวิจัยมากกว่า คุณสามารถดูตัวอย่างเรซูเม่ เพิ่มเติมได้ว่า มีแบบไหนบ้างที่คุณชอบ และเหมาะสำหรับตำแหน่งงานที่คุณต้องการสมัคร ส่วนตัวอย่าง Cover letter เราก็มีแนะนำเช่นกัน เคล็ดลับก็คือ อาจเลือกใช้หรือปรับเปลี่ยนสีให้เหมาะสมกับสีโลโก้หรือแบรนด์ขององค์กรที่คุณต้องการร่วมงานด้วย เพื่อแสดงให้เห็นถึงความใส่ใจ และความต้องการที่อยากจะเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรของคุณจริง ๆ