CV นักกายภาพบำบัด | คู่มือการเขียน CV

คะแนนเฉลี่ยสำหรับเทมเพลตนี้

กายภาพบำบัดเป็นงานทางสายการแพทย์ที่มีความสำคัญอย่างมาก ควบคู่ไปกับแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เทคนิคการแพทย์ โดยนักภาพบำบัดคอยทำหน้าที่ในการดูแลและฟื้นร่างกายของคนไข้ คอยเป็นที่ปรึกษาและให้การสนับสนุนทั้งความรู้ทางการแพทย์ และยังเป็นกำลังใจให้กับคนไข้ให้สามารถฟื้นฟูร่างกายได้ในเร็ววันด้วย นักกายภาพบำบัดเป็นอาชีพที่ทำได้ทั้งในโรงพยาบาลรัฐบาล เอกชน คลินิก หรือกระทั่งเปิดคลินิกกายภาพเป็นของตัวเอง อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณต้องการสมัครเพื่อเป็นนักกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลหรือองค์กรที่มาการแข่งขันสูงหรือรับจำนวนที่ค่อนข้างจำกัด CV ที่มีคุณภาพจึงมีความสำคัญอย่างมาก

มีผลสำรวจเกี่ยวกับสถานะการทำงานและความพึงพอใจในการทำงานของนักกายภาพบำบัดไทยในภาครัฐและภาคเอกชนที่จัดทำขึ้นผ่านการเก็บข้อมูลของนักกายภาพบำบัดในโรงพยาบาล 360 แห่งทั่ว 13 จังหวัดของประเทศไทยในระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน พ.ศ. 2556 พบว่าร้อยละ 64.5 ของนักกายภาพบำบัดที่ทำงานในภาคเอกชนมีสถานภาพการทำงานที่ดีกว่า ทั้งอัตราเงินเดือนที่สูงกว่า ตำแหน่งที่เป็นพนักงานประจำมากกว่า ภาระงานน้อยกว่า และทำงานด้านป้องกันกับด้านวิจัยน้อยกว่านักกายภาพบำบัดที่ทำงานในภาครัฐ โดยความพึงพอใจในการทำงานกายภาพบำบัดมีอยู่ 3 ปัจจัยด้วยกัน ได้แก่ ความภาคภูมิใจในวิชาชีพ ความเครียดจากการทำงาน และร่างกายเหนื่อยล้า

ในบทความนี้เราจะมาเจาะลึกกันว่า CV นักกายภาพบำบัดที่ดีควรประกอบไปด้วยข้อมูลหลักอะไรบ้าง จัดเรียงโครงสร้างอย่างไรถึงจะเหมาะสม พร้อมทั้งดูตัวอย่างประกอบพร้อมบทวิเคราะห์เพื่อให้เข้าใจได้มากขึ้นด้วย

ตัวอย่าง CV นักกายภาพบำบัด

เดือนเพ็ญ พินิจจิตร

นักกายภาพบำบัด

7 ซอยวิภาวดีรังสิต 38

กรุงเทพฯ 10900

085-425-1100

dpinitjit@gmail.com

Linkedin.com/in/dpinitjit

สรุปทักษะและผลงานจากการทำงาน

ปฏิบัติงานทางคลินิกที่หน่วยฟื้นฟูผู้ป่วยทั้งหมด 24 เตียง รับผิดชอบงานในด้านการประเมิน พร้อมวางแผนการรักษาผู้ป่วยร่วมกับแพทย์ ทั้งผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรคไขสันหลัง มีอาการบาดเจ็บที่สมอง จำเป็นต้องตัดแขนขา โรคทางเส้นประสาท ผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บหลังผ่าตัด รวมทั้งดูแลงานด้านพยาบาล สังคมสงเคราะห์ และจิตวิทยาในการให้บริการฟื้นฟูแบบครบวงจรสำหรับผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ จัดการประชุมผู้ ดำเนินการ ฝึกอบรม พร้อมทั้งดูแลเรื่อง

อุปกรณ์และความต้องการด้านสุขภาพของผู้ป่วย

ประสบการณ์การทำงาน

โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงราย

นักกายภาพบำบัด

สิงหาคม 2558 – สิงหาคม 2562

  • คอยช่วยเหลือผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหรืออยู่ในภาวะสุขภาพเรื้อรัง ให้สามารถฟื้นฟูการเคลื่อนไหวของร่างกาย จัดการความเจ็บปวด และปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้อีกครั้ง
  • ทำการรักษาเพื่อฟื้นฟูทั้งสภาพกล้ามเนื้อและกระดูก พร้อมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับการฟิตร่างกาย และป้องกันการบาดเจ็บในอนาคต
  • ดูประวัติผู้ป่วย สังเกตอาการ รับฟังถึงปัญหา วางแผนการรักษา พร้อมบันทึกและติดตามผลเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ผ่านการออกกำลังกาย การยืดกล้ามเนื้อ การใช้อุปกรณ์ เพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและป้องกันอาการกลับมาป่วยซ้ำอีก

การศึกษา

ปริญญาตรี สาขาวิชากายภาพบำบัด

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มีนาคม 2564

กิจกรรมอื่น เพิ่มเติม

กายภาพบำบัดพาร์ททามที่คลินิก

ใบประกาศนียบัตร

TOEIC 650 คะแนน

อัตราจ้างและเงินเดือนนักกายภาพบำบัด

จากข้อมูลเงินเดือนของนักกายภาพบำบัด สามารถแบ่งออกได้ตามสถานที่ทำงานและประสบการณ์ในการทำงาน ดังต่อไปนี้

  • นักกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลเอกชน เงินเดือนประมาณ 30,000 – 40,000 บาทขึ้นไปต่อเดือน
  • โรงพยาบาลรัฐ เงินเดือนอย่างน้อย 15,000 บาทขึ้นไปต่อเดือน
  • หากเปิดคลินิกกายภาพบำบัดได้ ค่าบริการอยู่ที่ 800-1,000 บาทต่อราย
  • ยังมีรายได้จากการไปดูแลฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยตามบ้านด้วย

วิธีการเขียน CV นักกายภาพบำบัด

วิธีการเขียน CV นักกายภาพบำบัดที่ดี นอกจากที่ควรมีข้อมูลสำคัญที่ครบถ้วนแล้ว ยังต้องมีการแบ่งเนื้อหาให้เป็นสัดส่วน เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านของผู้พิจารณา CV ของคุณ โดยโครงสร้างของ CV โดยพื้นฐาน ประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้:

  • ข้อมูลติดต่อและข้อมูลส่วนตัว
  • ตำแหน่งที่ต้องการสมัครงาน
  • สรุปทักษะและผลงานจากการทำงาน (Professional Summary)
  • ประสบการณ์การทำงานหรือประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
  • การศึกษา
  • ทักษะ
  • ส่วนเพิ่มเติมอื่น ๆ (เช่น ภาษา, ใบประกาศนียบัตร, รางวัลที่ได้รับ และความสนใจส่วนตัวอื่น ๆ เป็นต้น)

เคล็ดลับของการเขียน CV นักกายภาพบำบัดของคุณให้น่าสนใจและโดดเด่น

  • อ่านข้อมูลเปิดรับสมัครงานของทางโรงพยาบาลหรือคลินิกให้ดีว่า พวกเขาต้องการนักกายภาพบำบัดที่มีคุณสมบัติอย่างไร แล้วกลับมาย้อนพิจารณาตัวเองว่า ตัวคุณมีคุณสมบัติที่ตรงกันตรงไหรบ้าง แล้วเขียน CV นักกายภาพบำบัดของคุณให้ตอบโจทย์
  • เมื่อเนื้อหาครบถ้วนและตรงประเด็นแล้ว ก็ให้จัดรูปแบบ CV ให้มีความน่าสนใจ เรียงมาตั้งแต่ชื่อ ข้อมูลติดต่อ ต่อด้วยส่วนของประสบการณ์การทำงาน การศึกษา และส่วนเพิ่มเติมอื่น ๆ ที่สำคัญ
  • อย่าลืมใส่ตำแหน่งงานที่ต้องการสมัครก่อนไว้ที่ต้นของ CV เพื่อที่ผู้พิจารณาจะได้ไม่ต้องเสียเวลาเพ่งหาข้อมูลว่าใบสมัครงานนี้เป็นของตำแหน่งอะไรกันแน่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่องค์กรนั้น ๆ เปิดรับสมัครหลายตำแหน่งพร้อม ๆ กัน

รูปแบบและโครงสร้างของ CV นักกายภาพบำบัด

ข้อมูลใน CV ควรครบถ้วนและมีความถูกต้อง โดยไม่ควรมีคำที่สะกดผิด แสดงถึงความเอาใจใส่ และความเป็นมืออาชีพของผู้สมัคร โดยฟอนต์ที่ใช้ควรมีขนาดประมาณ 10-12 ซึ่งโดยฟอนต์ที่แนะนำสำหรับ CV ภาษาอังกฤษ คือ Calibri, Times New Roman, Cambria และ Arial และฟอนต์แนะนำสำหรับ CV ภาษาไทย คือ TH Sarabun New 

รูปแบบของ CV นักกายภาพบำบัด

รูปแบบของ CV โดยทั่วไปแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่

  • รูปแบบตามลำดับเวลา เขียนถึงประสบการณ์ในการทำงานแบบเรียงลำดับเวลาล่าสุดไปยังก่อนหน้า
  • รูปแบบโชว์ทักษะส่วนตัว แสดงให้เห็นถึงทักษะส่วนตัวของผู้สมัคร เพื่อสร้างความแตกต่างและโดดเด่นให้กับผู้สมัครเอง
  • รูปแบบผสม กล่าวถึงทั้งทักษะส่วนตัวและประสบการณ์ในการทำงานตามลำดับเวลา เพื่อเน้นทั้งความสามารถส่วนตัวและประสบการณ์ในการทำงาน

หัวข้อเรื่องและข้อมูลติดต่อ

หัวข้อของ CV มักประกอบไปด้วยชื่อ ตำแหน่งที่สมัคร รวมทั้งข้อมูลในการติดต่อ ซึ่งเป็นการบอกต่อผู้พิจารณาว่าคุณชื่ออะไร ต้องการสมัครงานเข้ามาในตำแหน่งใด และมีข้อมูลสำหรับการติดต่อเป็นอะไร เพื่อติดต่อกลับหากต้องการเรียกเข้ามาสัมภาษณ์เพิ่มเติม

หัวเรื่องที่ดี

เดือนเพ็ญ พินิจจิตร

นักกายภาพบำบัด

7 ซอยวิภาวดีรังสิต 38

กรุงเทพฯ 10900

085-425-1100

dpinitjit@gmail.com

Linkedin.com/in/dpinitjit

หัวเรื่องที่ไม่ดี

เดือนเพ็ญ พินิจจิตร

7 ซอยวิภาวดีรังสิต 38

กรุงเทพฯ 10900

085-425-1100

dp2342@gmail.com

Facebook.com/in/dp45788

📌 คำแนะนำ: ในส่วนของหัวเรื่อง ควรประกอบไปด้วยข้อมูลที่สำคัญเท่านั้น ไม่เขียนยาวจนเกินไป เพราะจะเยิ่นเย้อ ไม่น่าอ่าน โดยทั่วไปควรประกอบไปด้วย ชื่อ ตำแหน่งงานที่ต้องการสมัคร ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมลสำหรับติดต่อ และลิงก์ Linkedin เป็นต้น ที่สำคัญอีกอย่างก็คือชื่ออีเมลควรเป็นชื่อแบบทางการ และไม่ควรใส่เว็บไซต์ที่ไม่จำเป็นเช่นลิงก์ Facebook หรือช่องทางโซเชียลมีเดียอื่น ๆ

รูปภาพที่จะใช้ควรเป็นรูปที่ผู้สมัครแต่งกายเรียบร้อยและเป็นทางการ หากเป็นรูปที่สวมชุดนักกายภาพบำบัดได้ก็จะยิ่งแสดงถึงความเป็นมืออาชีพได้ดีขึ้น

ประสบการณ์การทำงานในฐานะนักกายภาพบำบัด

ในส่วนของประสบการณ์การทำงาน มักจะเรียงลำดับเป็นชื่อโรงพยาบาลหรือคลินิก ตำแหน่งหน้าที่ และระยะเวลาในการทำงาน พร้อมทั้งเขียนถึงหน้าที่รับผิดชอบของตัวเองอย่างน้อย 3 ข้อขึ้นไป ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่างประสบการณ์ทำงาน

ประสบการณ์การทำงาน

โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงราย

นักกายภาพบำบัด

สิงหาคม 2558 – สิงหาคม 2562

  • คอยช่วยเหลือผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหรืออยู่ในภาวะสุขภาพเรื้อรัง ให้สามารถฟื้นฟูการเคลื่อนไหวของร่างกาย จัดการความเจ็บปวด และปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้อีกครั้ง
  • ทำการรักษาเพื่อฟื้นฟูทั้งสภาพกล้ามเนื้อและกระดูก พร้อมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับการฟิตร่างกาย และป้องกันการบาดเจ็บในอนาคต
  • ดูประวัติผู้ป่วย สังเกตอาการ รับฟังถึงปัญหา วางแผนการรักษา พร้อมบันทึกและติดตามผลเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ผ่านการออกกำลังกาย การยืดกล้ามเนื้อ การใช้อุปกรณ์ เพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและป้องกันอาการกลับมาป่วยซ้ำอีก

การศึกษา

ข้อมูลการศึกษาจะเริ่มจากชื่อมหาวิทยาลัย ตามด้วยระดับการศึกษา และเวลาที่สำเร็จการศึกษา หากจบปริญญาโทและมีผลงานวิจัยที่เคยทำ ก็ให้ใส่ไว้ใน CV เพื่อแสดงให้เห็นถึงทักษะเพิ่มเติมของผู้สมัครงานด้วย

ตัวอย่างการเขียนหัวข้อการศึกษาใน CV

ปริญญาตรี สาขาวิชากายภาพบำบัด

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มีนาคม 2564

ทักษะสำหรับไว้เขียนใน CV นักกายภาพบำบัด

ทักษะที่ใช้เขียนในเอกสารสมัครงานในที่นี้คือทักษะสำหรับวิชาชีพ (hard skills) และทักษะการเข้าสังคม (soft skills) ซึ่งเป็นทักษะส่วนตัวของผู้สมัครงาน เป็นส่วนที่ต้องเขียนให้ตอบโจทย์กับโพสต์เปิดรับสมัครงาน และตรงตามทักษะจริงของผู้สมัครเองด้วย ซึ่งสามารถดูตัวอย่างได้ที่ด้านล่างนี้

ทักษะเฉพาะทาง

  • มีมนุษยสัมพันธ์และมีใจรักการบริการ
  • มีการทบทวนบทเรียนและจากประสบการณ์ทำงานจริงเป็นประจำ
  • สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์
  • มีสุขภาพจิตดี
  • หมั่นติดตามข่าวสาร วิทยาการต่าง ๆ เพื่อให้ก้าวทันการพัฒนาอยู่เสมอ
  • มีความคล่องตัว
  • ทำงานในสภาวะกดดันได้
  • ทักษะภาษาอังกฤษดี สามารถสื่อสารกับคนไข้ชาวต่างชาติได้

ทักษะการเข้าสังคม

  • ทำงานเป็นทีมได้ดี
  • มีทัศนคติเชิงบวก
  • มีทักษะด้านการสื่อสารที่ดี
  • สามารถจัดการเวลาได้ดี
  • มีความยืดหยุ่นในการทำงาน
  • ใส่ใจรายละเอียดและช่างสังเกต
  • มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
  • จัดลำดับความสำคัญเป็น

ทักษะและผลงานโดยสรุป

ทักษะและงานผลงานโดยสรุป เป็นส่วนที่ผู้พิจารณาสามารถอ่านแล้วรู้ถึงทักษะและผลงานของคุณได้ในทันทีผ่านข้อมูลเพียง 4-5 บรรทัด โดยเป็นข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญและโดดเด่นจนผู้พิจารณาอยากให้คุณไปร่วมงานด้วย

ตัวอย่างที่ถูกต้อง

ปฏิบัติงานทางคลินิกที่หน่วยฟื้นฟูผู้ป่วยทั้งหมด 24 เตียง รับผิดชอบงานในด้านการประเมิน พร้อมวางแผนการรักษาผู้ป่วยร่วมกับแพทย์ ทั้งผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรคไขสันหลัง มีอาการบาดเจ็บที่สมอง จำเป็นต้องตัดแขนขา โรคทางเส้นประสาท ผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บหลังผ่าตัด รวมทั้งดูแลงานด้านพยาบาล สังคมสงเคราะห์ และจิตวิทยาในการให้บริการฟื้นฟูแบบครบวงจรสำหรับผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ จัดการประชุมผู้ ดำเนินการ ฝึกอบรม พร้อมทั้งดูแลเรื่อง

อุปกรณ์และความต้องการด้านสุขภาพของผู้ป่วย

💡ตัวอย่างได้กล่าวถึงประสบการณ์ในการทำงานในฐานะนักกายภาพบำบัดได้อย่างละเอียดและครอบคลุม

ตัวอย่างที่ไม่ถูกต้อง

จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นนักกายภาพบำบัดเป็นเวลา 2 ปีโดยรวม มีคุณสมบัติพร้อม และยังมีใบประกอบวิชาชีพนักกายภาพบำบัดด้วย ต้องการที่จะมาสมัครงานโรงพยาบาลในกรุงเทพเนื่องจากย้ายบ้านและต้องการทำงานที่ใกล้บ้านมากขึ้น

💡 ตัวอย่างด้านบนเป็นการกล่าวสรุปที่สั้นจนเกินไป ไม่ได้กล่าวถึงระดับการศึกษาที่ชัดเจน นอกจากนั้นยังกล่าวถึงเพียงแค่ระยะเวลาในการทำงาน แต่ไม่ได้กล่าวถึงหน้าที่รับผิดชอบที่บ่งบอกประสบการณ์ทำงานได้อย่างชัดเจน ส่วนเหตุผลในการสมัครงานก็ไม่ควรเขียนอย่างยิ่งว่าสะดวกต่อการเดินทาง เพราะไม่ได้แสดงให้เห็นถึงเหตุผลที่เป็นที่ยอมรับในเชิงวิชาการ

ส่วนเพิ่มเติม

ส่วนเพิ่มเติมประกอบด้วยภาษา ความสนใจ ไปรษณียบัตรที่เคยได้รับ รวมทั้งผลงานวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแนบ Reference ให้ไว้ในการพิจารณาเพิ่มเติมได้ด้วย

ภาษา

ภาษาเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับทุกวิชาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงพยาบาลที่อาจมีคนไข้เป็นชาวต่างชาติได้ หากคุณมีผลการสอบวัดผลทางภาษา เช่น TOEFL หรือ IELTS สำหรับภาษาอังกฤษ ที่ดีมายื่นด้วย ก็จะยิ่งเพิ่มความน่าสนใจให้คุณเข้ามาร่วมงานด้วยมากยิ่งขึ้น

เคล็ดลับในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ CV นักกายภาพบำบัด

CV ที่ดีควรมีเนื้อหาที่ครอบคลุม เขียนอย่างกระชับ และวางรูปแบบไว้อย่างเหมาะสม เพื่อให้มีข้อมูลที่ครบถ้วน และผู้พิจารณาสามารถอ่านได้ง่าย

  • เลือกรูปแบบ CV ที่เหมาะสม ซึ่งควรเป็นทางการ และเรียบร้อย เหมาะกับคุณลักษณะตามวิชาชีพ ตัวอย่างรูปแบบเรซูเม่
  • ไม่ควรใช้ CV เดียวสำหรับสมัครงานหลาย ๆ ที่ เนื่องจากไม่มีความเฉพาะเจาะจงและตอบโจทย์มากพอ เนื่องจากแต่ละที่ก็มีคุณสมบัติและความต้องการที่เกี่ยวกับผู้สมัครที่แตกต่างกันออกไป ให้เขียนแยกแล้วปรับให้เข้ากับแต่ละตำแหน่งงานและสถานที่ที่ต้องการสมัครให้ได้มากที่สุดจะดีกว่า และเพิ่มโอกาสให้กับตัวคุณเองได้มากกว่า
  • อ่านทวนข้อมูลก่อนส่งอย่างน้อย 2-3 รอบ เพื่อให้แน่ใจได้ว่าข้อมูลทุกอย่างนั้นถูกต้องและครบถ้วน และไม่มีคำที่สะกดผิดเลย

สรุปประเด็นสำคัญในการเขียน CV นักกายภาพบำบัด

  • CV จะต้องมีข้อมูลส่วนตัว, ตำแหน่งงานที่สมัคร, ข้อมูลไว้สำหรับติดต่อ, สรุปทักษะและผลงาน (professional summary), ประสบการณ์ในการทำงาน, ประวัติการศึกษา, ทักษะ พร้อมส่วนเพิ่มเติมอื่น ๆ
  • สรุปทักษะและผลงานเป็นส่วนที่จะดึงดูดให้ผู้พิจารณาอ่าน CV ของคุณได้ตั้งแต่ต้นจนจบ ให้พูดถึงทักษะสำคัญที่คุณมี พร้อมทั้งผลงานที่เคยทำแบบเห็นภาพ
  • ประสบการณ์การทำงาน ประกอบด้วยชื่อบริษัท ตำแหน่งงาน และระยะเวลาทำงาน รวมถึงหน้าที่ในการทำงานอย่างน้อย 3 ข้อด้วย
  • ข้อมูลด้านการศึกษาให้ใส่ทั้งหมด ทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท (ถ้ามี)
  • ใส่ทักษะสำหรับการทำงาน (hard skill) และทักษะการเข้าสังคม (soft skill) เพื่อบ่งบอกถึงคุณสมบัติในการทำงานเพิ่มเติมของคุณ
  • ใส่ส่วนเพิ่มเติมอื่น ๆ อย่างภาษา ใบประกาศนียบัตร และผลงานวิชาการของตนเอง เป็นต้น

เขียนเรซูเม่ที่เข้ากับ Cover letter ของคุณ

เรซูเม่จะกล่าวถึงข้อมูลการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และทักษะพบสังเขป มักยาวประมาณ 1-2 หน้า ส่วน CV จะยาวกว่า 2-20 หน้า เพราะเป็นข้อมูลที่ละเอียดกว่า เช่น แนบ reference งานวิชาการที่เคยได้รับการตีพิมพ์ลงวารสารวิชาการ เนื่องจาก CV มักถูกนำไปใช้ในการสมัครงานในตำแหน่งเชิงวิชาการหรือเป็นนักวิจัย ซึ่งคุณสามารถดูตัวอย่างรูปแบบ CVของเราได้ที่นี่

 

ตัวอย่าง CV นักกายภาพบำบัด

เทมเพลต CV นักกายภาพบำบัด cv ด้วยประสบการณ์นักกายภาพบำบัด
cv ไม่มีประสบการณ์สำหรับนักกายภาพบำบัด ดาวน์โหลด CV . นักกายภาพบำบัด

 

บทความที่คล้ายกัน